ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่มีต่อความสามารถในการอ่าน และการเขียนเรื่องตามจินตนาการวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มโรงเรียนแก่งคอยร่วมใจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ชนิกานต์ ทองใบ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุวรรณี ยหะกร รองศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อภิรักษ์ อนะมาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสอนแบบความรู้ที่ชัดแจ้ง, การอ่าน, การเขียน

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรื่องตามจินตนาการระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดชำผักแพว จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 28 คน ได้มาโดย
การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิท 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

              ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยวิธีการสอน
แบบเอ็กซ์พลิซิทสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.

ใดนี สาและ และธีระยุทธ รัชชะ. (2560). ผลการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่มีต่อทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นเป็นภาษาที่สองระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชชุนี รัตนะ, ยุพิน อินทะยะ และศศิธร อินตุ่น. (2556). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทร่วมกับใช้แบบฝึกเสริมทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (National Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562, จาก www.bet.obec.go.th

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

อรวรรณ มีชำนาญ, สุวรรณี ยหะกร และศุภวรรณ์ เล็กวิไล. (2557). ผลการใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อารีย์ พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหมเอดดูเคท.

Harnischfeger, A. and Wiley, D. E. (1978). Conceptual Issues in Mode: School Leaning. Journal of Curriculumn Studies, 10 (May), 215–231.

Rosenshine, B. (1986). Synthesis of Research on Explicit on Teaching. Educational Leadership, 43(April), 14-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

How to Cite

ทองใบ ช., ยหะกร ส., & อนะมาน อ. (2022). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่มีต่อความสามารถในการอ่าน และการเขียนเรื่องตามจินตนาการวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มโรงเรียนแก่งคอยร่วมใจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(3), 87–97. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/251338