การศึกษาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุพิชชา โชติกำจร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

รายได้, การกระจายรายได้, ความเหลื่อมล้ำ

บทคัดย่อ

              งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในประเทศไทย และ
2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในประเทศไทย โดยวิธีดำเนินการวิจัยจะเป็นรูปแบบ
เชิงปริมาณและเป็นการพยากรณ์ข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจ
ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทย (Socio-Economic Survey: SES) ซึ่งเป็นข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series Data) ในช่วง ปี พ.ศ. 2541-2562 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และใช้แบบจำลองถดถอยเชิงเส้นในการวิเคราะห์ข้อมูล

              ผลการศึกษา พบว่าความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2562 นั้น
มีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีปัญหาในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้เกิดขึ้น โดยพบว่า
ยังมีช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนเกิดขึ้นอยู่มาก นอกจากนี้ จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำ  
ของการกระจายรายได้ พบว่าหากรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของไทยเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้มากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้ถูกจัดสรรให้แก่ประชากรทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม แต่ในขณะการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายของรัฐบาล จะมีผลช่วยทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ลดลง

References

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, โกสินทร์ เตชะนิยม, วุฒิชัย อารักษ์โพชณงค์ และวรพล พินิจ. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและความเกี่ยวข้องของดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาล: การสร้างแนวทางลดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยตามหลักสากล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2555). สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย. วารสารนักบริหาร, 32(1), 3-10.

สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทย. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2564, จาก https://www. nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/รายได้รายจ่ายครัวเรือน/ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน.aspx

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ด้านรายได้ในระดับภาคของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). บัญชีประชาชาติ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=ni_page

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). สถิติด้านความยากจนและการกระจายรายได้. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3518&filename=social

อานนท์ เทพสำเริง. (2562). การศึกษาการกระจายรายได้ในประเทศไทย กรณีศึกษาค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคทางรายได้ของครัวเรือน ปี พ.ศ. 2552-2560. วารสารพัฒนาสังคม, 11(1), 41-58.

อธิพงษ์ นาครอด, รังสรรค์ อินทน์จันทน์ และรัชนิดา ไสยรส. (2561). นโยบายประชารัฐกับการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดชุมพร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(2), 68-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

How to Cite

โชติกำจร ส. (2022). การศึกษาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในประเทศไทย . วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(2), 210–218. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/250887