การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง, ความสามารถการแก้ปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหา เรื่องเซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน
ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
เรื่องเซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 38 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
- รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหา เรื่องเซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า “PCAPRE Model”
มี 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล รูปแบบ
มีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมพร้อมในการเรียน (Preparation: P) ขั้นสร้างความรู้
และแก้ปัญหา (Construction and Problem solving: C) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Action: A) ขั้นนำเสนอผลงาน (Presentation: P) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection: R) ขั้นการประเมินผล (Evaluation: E) มีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ
อยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพ (E1 /E2) เท่ากับ 80.13 / 81.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 - ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า 2.1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่องเซต
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7197 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 71.97 - ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่องเซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจโดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีร์ธวัช ปิ่นทุมมา และกนิษฐา เชาว์วัฒนกุล (2560: 25-36). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ศาสตร์การศึกษาและพัฒนามนุษย์, 1(1), 25-36.
นันทิยา บุญเคลือบ. (2540). มาตรฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์. วารสาร สสวท, 25(99), 7-12.
บุญเชิด ภิญโญอนนัตพงษ.์ (2540). การทดสอบแบบอิงเกณฑ์: แนวคิดและวิธีการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ประมวล อุทัยแสง. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 63-75.
ฝ่ายบริหารงานวิชาการ โรงเรียนบัวขาว. (2561). รายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2560-2561. กาฬสินธุ์: โรงเรียนบัวขาว.
พัชรี ปิยภัณฑ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิลาวัณย์ บุตรพรม. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ร้อยเอ็ด: โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร.
วิไลพร พงษ์พล. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่องเซต เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตตนิสัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ศรีสะเกษ: โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สิริพร ทิพย์คง. (2556). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2540). การทำวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้บริหารและครู. วารสารการวิจัยทางการศึกษา, 21(3), 37.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2550). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
เสาวภา พรหมทา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาการประยุกต์ งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ศรีสะเกษ: โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม.
หทัยรัตน์ พงษ์พานิช. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
อัญชลี แก้ววิเศษ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพในการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 เรื่องงานประดิษฐ์จากผ้าลายไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว. พัทลุง: โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว.
Bruner, J. S. (1976). Jerome Bruner and Process of Education. Retrieved February 17, 2019, from http://www.infed.org/thinkers/bruner.htm/
Dewey, J. (2007). How We Think. Retrieved December 1, 2018, from http://www.scribd.com/doc/7601735/Dewey-Pattern-Problem-solving-agenda/
Driver, R. H. and Bell, B. (1986). Students thinking and the learning of science: A constructivist view. The School Review, 67(240), 443-456.
George, J. M. and Jones, G. R. (2006). Understanding and mamaging: Organizational Behavior (2nd ed.). Massachusetts: Addison–Wesley.
Guilford, J. P. (1982). Fundamental Statistics in Psychology and Education (4th ed.). Tokyo: McGraw-Hill Kodakusha.
Kruse, Kevin. (2007). Instruction to instructional design and the ADDIE model. Retrieved June, 19, from http: www.e-learningguru.com/articles/art1_1.htm
Martin, R. E. (1994). Teaching Science for all Children. Boston: Allyn & Bacon.
Joyce, B. and Weil, M. (2000). Models of Teaching (6th ed.). Massachusetts: Allyn & Bacon.
Polya, G. (1957). On solving mathematical problems in high school. Reston. Virginia: NCTM.
Weir, J. J. (2005). Problem Solving is Everybody’s Problem. New York: Science Teacher.
Wilson, J. W. and Femandez, M. L. (1993). Mathematical Problem Solving. New York: Macmillan Publishing.
Yager, R. E. (1991). The constructivist learning model. The science teacher, 58(September), 52–57.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว