การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยใช้คำถามทรงพลัง
คำสำคัญ:
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ,นักศึกษาครู,เทคนิคคำถามทรงพลังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาครู โดยใช้คำถามทรงพลัง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารญาณ สำหรับนักศึกษาครู ก่อนและหลังใช้คำถามทรงพลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมและคำถามที่ทรงพลังที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบ่งออกเป็น 5 กิจกรรม และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามทรงพลัง และแบบประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ Dependent t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู โดยใช้คำถามทรงพลังก่อนทดลอง พบว่าคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในภาพรวม มีคะแนนอยู่ในระดับพอใช้
ส่วนหลังทดลอง พบว่าคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับดี 2) ผลการเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
โดยใช้คำถามทรงพลังก่อนและหลังทดลอง พบว่าการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วีพรินท์ (1991).
ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์ (1991).
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์. (2558). ความแตกต่างของคำถามทรงพลังกับคำถามทั่ว ๆ ไป. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2558, จาก https://www.entraining.net/manual/b7/ความแตกต่างของคำถามทรงพลังกับคำถามทั่วไป
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต. ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์. (2554). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(3), 6-25.
วัชรี แซงบุญเรือง ประวิทย์ สิมมาทัน และกนก สมะวรรธนะ. (2560). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเรียนเสมือนจริงสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1), 5-32.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). กรุงเทพฯ: จรัสสนิทวงศ์การพิมพ์.
วิไลลักษณ์ สายเสน่ห์. (2556). ผลการสอนโดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบหมวกความคิดหกใบในวิชาการคิดเชิงวิจารณญาณและสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิริรัตน์ ศิริวรรณ. (2559). การโค้ชด้วยคำถามที่ทรงพลัง. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559, จาก https://coachbee.wordpress.com/2013/06/04/การโค้ชด้วยคำถามที่ทรงพลัง
ศิวภรณ์ สองแสน, สมบัติ คชสิทธิ์, บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ และฐิติพร พิชยกุล. (2557). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยโดยรูปแบบ MAPLE. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3), 110-129.
สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และพรรณี สินธพานนท์. (2551). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธน วงค์แดง. (2560). ผลการประเมินตนเองเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชากลุ่มวิชาชีพครู ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุธน วงค์แดง, ภาณุมาส เศรษฐจันทร และวีระพงษ์ สิงห์ครุธ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 13(37), 75-90.
Alber. R. (2013). 5 Powerful Questions Teachers Can Ask Students. Retrieved January 8, 2013, from https://www.edutopia.org/blog/five-powerful-questions-teachers-ask-students
Cristina, B. and Maureen, S. (2014). Powerful questions for bigger thinking. Retrieved April 30, 2014, from https://www.thetrainingbox.eu.com/powerful-questions-for-bigger-think.
Elder, L. and Paul, R. (2007). Critical Thinking: Learn the Tools the Best Thinkers Use. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Ennis, R. H. and Millman, J. (1985). Cornell critical thinking test, level Z. Pacific Grove. California: Midwest Publications.
Fitz-Gibbon, C. Taylor, C. and Morris, L. L. (1987). How to design a program evaluation (2nd ed.). California: Sage Publications.
Kee, K., Anderson, K., Dearing, V., Harris, E. and Shuster, F. (2010). Results coaching the new essential for school leaders. California: Corwin.
Nappi, A. and Judith, S. (2017). The Importance of Questioning in Developing Critical Thinking Skills. Delta Kappa Gamma Bulletin, 84(1), 30-41.
Norris, P. and Ennis, R. (1989). Critical thinking and subject specificity: Clarification and needed research. Educational Researcher, 18(3), 4-10.
Lloyd, M. and Bahr, N. (2010). Thinking Critically about Critical Thinking in Higher Education. International Journal for the Scholarship of Teaching and Learning, 4(2), 9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว