ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างค่านิยมร่วมสู่ความเป็นเลิศที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เขตพื้นที่สาเกตุนคร จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ สุภาชัยวัฒน์ คณะบริหารธุรกิจเเเละการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุธาสินี วังคะฮาต คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ปภาดา สาคร คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุนันวดี พละศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ดวงดาว ภูครองจิตร คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การสร้างค่านิยมร่วมสู่ความเป็นเลิศ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างค่านิยมร่วมสู่ความเป็นเลิศที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เขตพื้นที่สาเกตุนคร จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เขตพื้นที่สาเกตุนคร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 90 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณและการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เขตพื้นที่สาเกตุนคร จังหวัดร้อยเอ็ด มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมี การสร้างค่านิยมร่วมสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ดังนี้ ด้านการสร้างความยั่งยืน ด้านลูกค้าเครือข่าย ผู้ถือหุ้นและสิ่งแวดล้อม (gif.latex?\bar{x} = 4.92) ด้านการมุ่งเน้นการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านความรู้ (gif.latex?\bar{x} = 4.89) และด้านการสร้างจิตสำนึกในหน้าที่ของความรับผิดชอบของบุคลากร (gif.latex?\bar{x} = 4.87) และมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านคุณภาพของงาน (gif.latex?\bar{x} = 3.85) และด้านความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน (gif.latex?\bar{x} = 3.79) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่าการสร้างค่านิยมร่วมสู่ความเป็นเลิศ ด้านการมุ่งเน้นการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านความรู้ ด้านการเสริมสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมและด้านการสร้างจิตสำนึกในหน้าที่ของความรับผิดชอบของบุคลากร มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการสร้างค่านิยมร่วมสู่ความเป็นเลิศ ด้านการสร้างความยั่งยืน ด้านลูกค้าเครือข่าย ผู้ถือหุ้น และสิ่งแวดล้อม และด้านการส่งเสริมและยกระดับการนำความรู้สู่นวัตกรรมไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม

References

กัญญามน อินหว่าง. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาองค์การ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562,

จาก https://www.thaihealth.or.th/blog/myblog/topic/

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2562). วัฒนธรรมองค์กร. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562,

จาก https://www.baac.or.th/th/content-about.php?content_group_sub=0012

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ประภา สังขพันธ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน กรณีศึกษา

บมจ.ธนาคารกรุงไทย. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนัชยา จันทเขต. (2551). ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ ความเชื่ออำนาจในตนกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิก

ที่ดีขององค์การของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำนักงานใหญ่). วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุ่งทิวา คำเป๊กเครือ และบุญญาดา นาสมบูรณ์. (2560). วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

กรณีศึกษา บริษัทไทย-ญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ:

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

สิริรัตน์ ฉัตรสมนิยม. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร. การค้นคว้าอิสระ

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ศุภรณ์ทิพย์ ศิริสุนทร. (2557). ผลกระทบของความสามารถในการเรียนรู้การทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

ของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33(1), 208-220.

อาริญา เฮงทวีทรัพย์สิริ. (2558). ความผูกพันต่อองค์การ บุคลิกภาพภาพ ห้าองค์ประกอบและความสุขในการทำงานของพยาบาล

โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making (4th ed.). USA: John Wiley & Son.

Cook, R.A. and Lafferty, L.J. (1989). Organization culture inventory. Plymouth. MI: Human Synergistics,

(1), 2-5.

Denison, D.R. (1990). Corporate Culture and Organizational Effectiveness. New York: Wiley.

Hair, J., Money, A., Page, M. and Samouel, P. (2007). Research Methods for Business. London: Routledge.

Petersen, E. and Plowman, G. E. (1989). Business organization and management. Illinois: Irwin.

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York:

Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

How to Cite

สุภาชัยวัฒน์ จ., วังคะฮาต ส., สาคร ป., พละศักดิ์ ส., & ภูครองจิตร ด. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างค่านิยมร่วมสู่ความเป็นเลิศที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เขตพื้นที่สาเกตุนคร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(2), 224–234. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/248967