การพัฒนาทักษะปฏิบัติในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การพัฒนาทักษะปฏิบัติ, แนวคิดของเดวีส์, เทคนิคเพื่อนคู่คิดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาทักษะปฏิบัติในรายวิชาคอมพิวเตอร์ เพิ่มเติมตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ตามเกณฑ์ ร้อยละ 80
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม
ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
บ้านโคกล่ามกลางตำแย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน 2) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ จำนวน 5 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D.=0.22)
- การพัฒนาทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีค่าเฉลี่ยของคะแนนคิดเป็นร้อยละ 85.82 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่าคะแนนทักษะปฏิบัติงานสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้ - ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้ ทักษะปฏิบัติในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.99, S.D. = 0.38)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ ซินดิเคท.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จิรพนธ์ ลีสา. (2563). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บผสมผสานสื่ออินโฟกราฟิกส์ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องคอมพิวเตอร์สร้างชิ้นงานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 76-86.
บุญรอด ชาติยานนท์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ในรายวิชาการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสาร Veridian E-Journal, 9(3), 205-214.
ภูษิต บุญทองเทิง. (2559). การพัฒนาการเรียนการสอน Instructional Development. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รุ่งโรจน์ ต้นประดิษฐ์. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดสุนทรพจน์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(2), 11-20.
ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
วรายุทธ มะปะทัง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 212-223.
วศิน เพิ่มทรัพย์. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
หัทยา อุปแก้ว. (2562). การพัฒนาทักษะผลสัมฤทธิ์การเรียนและทักษะปฏิบัติ เรื่องการจัดดอกไม้สด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
หทัยภัทร ศุภคุณ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการปฏิบัติกลองชุดเบื้องต้น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการฝึกทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์). วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(3), 64.
เอกศักดิ์ แหชัยภูมิ. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของเดวีส์ผ่านสื่อสังคม เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปด้านเอกสาร สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารวิชาการ นวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 20-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว