การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ บุญเรือง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบัวขาว

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, การคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสอบถามความคิดเห็นและความต้องการของผู้เรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE โดยศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและ และการคิดวิเคราะห์ สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE ตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดความพึงพอใจ ระยะที่ 4 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE โดยทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์  จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2

ปีการศึกษา จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน ซึ่งจัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) เนื้อหา (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (5) การวัดและประเมินผล และ (6) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Motivating: M) ขั้นที่ 2 เรียนรู้กระบวนการคิดวิเคราะห์ (Analyzing: A) ขั้นที่ 3 เรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: L) ขั้นที่ 4 ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด (Applying Thinking Process: A) ขั้นที่ 5 ประเมินผล (Evaluating: E) โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.05/84.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE พบว่า 2.1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE  มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE มี ความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}= 4.72, S.D = 0.45)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กุลธิดา ท้วมสุข, ดารารัตน์ คำภูแสน, อังคณา ทองพูฆน พัฒนศร, กรวิภา พูลผล และอุทัยวรรณ ด่านวิวัฒน์. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). พัฒนาคุณธรรมผู้เรียนครบวงจร-เส้นทางที่ต้องก้าวเดิน. วารสาร วัฒนธรรมไทย, 47(6), 46-48.

จิรา ลังกา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5: การวิจัยปฏิบัติการ. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

หลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี, เฉลิมชัย พันธ์เลิศ และภาษิต ประมวลชัยศิลป์. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบซิปปา CIPPA MODEL. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2554). การสอนการคิด. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

รพีพรรณ เชื้อจันอัด, นพคุณ ภักดีณรงค์ และนฤมล อเนกวิทย์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามทฤษฎีไวกอทสกี สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 21(2), 266-279.

ลัดดา หวังภาษิต. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม:

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภาดา พูลศักดิ์วรสาร. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสำหรับผู้ใหญ่

เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิสาข์ จัติวัตร์. (2543). การสอนอ่านภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ม.ป.ป.) คู่มือการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ระดับชั้นมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ:

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2558/2559 ความจำเป็นของการแข่งขัน

และการกระจายอำนาจในระบบการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากลปี 2559 (IMD 2016). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579) ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ:

พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: สกสค.

อุษา มะหะหมัด. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cao, Y. (2011). Investigating situational willingness to communicate within second language classroom from ecological perspective. Fuel and Energy Abstracts, 39(4), 468-479.

Devine, T.G. (1986). Teaching Reading Comprehension. Boston: Allyn & Bacon.

Dick, W., Carey, L. and Carey, J.O. (2005). The systematic design of instruction (6th ed.) Boston: Allyn & Bacon.

Gunning, T. G. (1992). Creating Reading Instruction for All Children. Allyn & Bacon. Division of Simon & Schuster Inc.

Johnson, K. (1982). Five Principles in a ‘communicative’ exercise type in K. Johnson. Communicative Syllabus Design and Methodology. Oxford: Pergamon.

Joyce, B., Weil, M. and Calhoun, E. (2009). Models of Teaching (8th ed.). New York: Allyn & Bacon.

Kruse, K. (2007). Introduction to instructional design and the ADDIE Model [electronic version].

Retrieved August 10, 2015, From http://www.e-learningguru.com/articles/art1_1.htm

Marzano, R. J. and John S. K. (2007) .The new Taxonomy of educational objectives (2nd ed.). California: Corwin Press.

Nunan, D. (1989). Designing tasks for the communicative classroom. Glassgrow: Bell and Bain.

Obah, T.Y. (1983). Prior Knowledge and the Quest for New Knowledge: The Third World Dilemma. Journal of Reading, 27(11), 129-133.

Shin, H. and Graham, C. (2005). Indigenous critical traditions for TEFL? A historical comparative

perspective in the case of Korea. Critical Inquiry in Language Studies, 2(2), 95-112.

Willis, J. (2000). A framework for tasked-based learning. Oxford: Longman Handbook.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29

How to Cite

บุญเรือง ล. (2022). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MALAE เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(1), 198–212. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/247167