ความรู้และการรับรู้ถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ อริยะชัยประดิษฐ์ นิ่มหนู คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สิทธิในความเป็นส่วนตัว, ข้อมูลส่วนบุคคล, ความรู้และการรับรู้

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้และการรับรู้ถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล 2) เปรียบเทียบระดับความรู้และการรับรู้โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้
และการรับรู้ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัว โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ได้แก่
t-test, One-way ANOVA และ Pearson Product Moment correlation coefficient

              ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรคณะนิติศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 51.40) อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 30-45 ปี (ร้อยละ 68.60) และปฏิบัติหน้าที่สายสนับสนุน (ร้อยละ 54.30) มีความรู้ถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในระดับมาก และมีการรับรู้ถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในระดับดีมาก บุคลากรที่มีเพศ อายุ การศึกษา การปฏิบัติงานที่ต่างกัน มีระดับความรู้ถึงเรื่องสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 แต่ระดับการรับรู้ถึงเรื่องสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลไม่แตกต่างกัน และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้ถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรคณะนิติศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r=0.46)

Author Biography

อมรรัตน์ อริยะชัยประดิษฐ์ นิ่มหนู, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Thai Citation Index Centre

References

ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช, สุดจิต เจนนพกาญจน์, อภิรัฐ พุ่มกุมาร, จิตรา วีรบุรีนนท์ และสุวิทย์ ไพทยวัฒน์. (2550). การพิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครองสิทธิ เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดตามอนุสัญญาและมาตรฐานระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.

ธาริณี มณีรอด. (2558). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นคร เสรีรักษ์. (2548). การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพดล นิ่มหนู. (2562). มาตรการและกลไกทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล. ดุษฎีนิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บรรเจิด สิงคะเนติ, นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์, เรวดี ขวัญทองยิ้ม และกฤษฏิ์ฎีกา ทองเพ็ชร. (2554). ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

สมถวิล ผลสอาด. (2555). การรับรู้ของประชาชนที่มีต่องานบริการด้านสาธารณสุขของเทศบาลตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

How to Cite

อริยะชัยประดิษฐ์ นิ่มหนู อ. . (2022). ความรู้และการรับรู้ถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(2), 82–92. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/244956