การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องธรรมชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ธรรมชาดกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องธรรมชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องธรรมชาดก คือ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2) ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชนิด ดังนี้ 1) หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ
เรื่อง ธรรมชาดก 2) แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ โดยทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ได้มาโดย
การสุ่มแบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน ด้วยสถิติ t–test (dependent) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชนิด ดังนี้ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องธรรมชาดก จำนวน 30 ข้อ
2) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสังเกตพฤติกรรม 4) แบบสัมภาษณ์ 5) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ
ผลการวิจัย พบว่า 1) หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องธรรมชาดก มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้ กรอบแนวคิด
จุดมุ่งหมาย สาระการเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ และวิธีวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.14) และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.50/81.05 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ พบว่า 2.1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 2.2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องธรรมชาดก มีความฉลาด
ทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ จำนวน 33 คน (ร้อยละ 94.71) และต่ำกว่าเกณฑ์ 2 คน (5.29 %). 2.3) ความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องธรรมชาดก อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60,
S.D. = 0.56)
References
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2558). นักวิจัย'มจร'พบสอน-สอบธรรมในร.ร.ได้ผลน้อย เด็กไม่ถึงธรรมขาดคิดวิเคราะห์ไม่สามารถ นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง มุ่งพัฒนาเทคนิคเป็นการด่วน 5. สืบค้นเมื่อ 16 ต.ค. 2562,
จาก http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/215266
กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กัญยุพา สรรพศรี และโสวิทย์ บำรุงภักดิ์. (2562). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(2), 101-112.
ฆนัท ธาตุทอง. (2559). หลักการจัดการเรียนรู้. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
ฆนัท ธาตุทอง. (2554). การออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
งานวิชาการ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม. (2561). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561. ขอนแก่น: ภูเวียงวิทยาคม.
งานกิจการนักเรียน โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม. (2561). รายงานปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนโรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561. ขอนแก่น: ภูเวียงวิทยาคม.
ฐาปกรณ์ จิ๋วสุข. (2562). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่น “เมืองทัพทัน” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครสวรรค์.
ณัฐติกา พรมดำ. (2560). รายงานผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ไข่ครอบภูมิปัญญาชาวบ้าน ริมทะเลสาบสงขลา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(1), 83-92.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). หลักสูตรการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 33). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
ฟาดีละฮ์ ศรัทธาสุภัคกุล. (2559). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง พืชภูมิปัญญา ที่ใช้กระบวนการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ ในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 37–46 .
สถาบันราชานุกูล. (2559). ผลการสำรวจสถานการณ์ IQ EQ เด็กไทย ปี 2559 3. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2562,
จาก https://th.rajanukul.go.th/preview-3958.html
สมาน เอกพิมพ์. (2560). การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีสู่ปฏิบัติการออกแบบและพัฒนา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2575. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว