การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • เทพบุตร หาญมนตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มนตรี ทองมูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อนคู่คิด

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ
ในการแก้ปัญหาของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 และ 5/12 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จำนวน 75 คน
โดยจัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 39 คน และ 36 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัด
การเรียนรู้ 2 รูปแบบ คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ รูปแบบละ 9 แผนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 25 ข้อ และแบบทสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 5 ข้อ
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ และ t-test (independent sample)

              ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.92/72.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นารีรัตน์ ประสมสาสตร์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย, 7(2), 495-508.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2551). ทักษะ 5 C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนี ภู่พัชรกุล. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างวิธีสอบแบบนิรนัยร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดและวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันวิสา ประมวล. (2555). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค KWDL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเพื่อนคู่คิด. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนการสอบ O-NET ป.6 ม.3 และ ม.6 ปีการศึกษา 2561 จำแนกตามวิชา (คะแนนเต็ม 100 คะแนน). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.

สุลัดดา ลอยฟ้า. (2537). เอกสารประกอบการสอนวิชา 215713 ปัญหา และวิธีการสอนคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Lyman, F.T. (1981). The Responsive Classroom Discussion: The Inclusion of all Students In. A.

Anderson (Ed.), Mainstreaming Digest. pp. 109-113. college Park: University of Maryland Press.

Polya. G. (1973). How to solve it. Princeton. NJ: Princeton University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29