ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

ผู้แต่ง

  • พิษณุ สมจิตร ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สมใจ ภูมิพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 35 คน และครู จำนวน 275 คน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ .94 และการบริหารงานวิชาการ เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเอ็นเทอร์ (Enter Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.20) และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การ ("X" ̅ = 4.24) และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ ("X" ̅ = 4.15) 2. ระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.22) และรายด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน ("X" ̅ = 4.29) และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนา และใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา ("X" ̅ = 4.15) 3. การสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการจากปัจจัยภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 พบว่าภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ (X4) ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การ (X1) ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (X2) และด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์การ (X3) สามารถร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ได้ร้อยละ 46.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเขียนสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ Y´ = 1.723 + .369X4 + .113X1 + .070X2 + .047X3 สมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z´y = .470ZX4 + .143ZX1 + .089ZX2 + .059ZX3

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2547). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เสริมสินพรีเพรส ซิสเท็ม.

กมล โสวาปี. (2556). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือครูการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เขมมารี รักษ์ชูชีพ. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2543). การวางแผนกลยุทธ์เพื่อการปฏิรูประบบราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ..

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2545). กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นิลวรรณ วัฒนา. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

พิชิต โกพล, ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ วัลนิกา ฉลากบาง. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 78-85.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการ: LIFE Model Operational Leadership: LIFE Model. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม.

มันทนา กองเงิน. (2554). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการขจัดความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. วารสารการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 6(2), 1-10.

รัชนี ชุณหปราณ. (2554). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ราชกิจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. เล่มที่ 127 (ตอนที่ 45ก), 1-3.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ . (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 4). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2551). การพัฒนาหลักสูตร: ตามแนวปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

วิราพร ดีบุญมี. (2556). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิเศษ พลอาจทัน. (2555). การบริหารโรงเรียนแบบกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธ์.

ศิริเพ็ญ สกุลวลีธร. (2556). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562, จาก http://newonetresult.niets.or.th /AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2560.pdf

สมยศ นาวีการ. (2551). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สัมมา รธนิธย์. (2556). หลัก ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1. (2561). ผลทดสอบคะแนน O-NET ปีการศึกษา 2560. [รายงานผลทดสอบคะแนน O-NET]. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.yst1.go.th/2020/?page_id=157

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1. (2562). จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาปีการศึกษา 2561. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/person-all-sum-list.php?Area_CODE=3501

สุดา สุวรรณาภิรมย์. (2551). ภาวะผู้นำ: The leadership. กรุงเทพฯ: เอ อาร์ อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน.

อังศุมาลิน กุลฉวะ และสมใจ ภูมิพันธุ์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(2), 60-67.

อินทุอร โควังชัย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานโรงเรียน. กรุงเทพฯ: เอส ดี เพรส.

Adair, J. (2010). Strategic leadership: How to think and plan strategically and provide direction. London: Kogan Page.

Dubrin, A.J. (2004). Leadership: Research Findings, Practice, and Skills. (4th ed.). New York: McGraw–Hill.

Duggen, T. (2013). Strategic Leadership: Basic Concept & Theories. Retrieved February 5, 2019,

from http://yourbusiness.azcentral.com/strategic–leadership–basic–concepts–thories–8736.htm

Gill, R. (2006). Theory and practice of leadership. Washington: Sage.

Sergiovanni, T.J. and other (2009). The Principalship: A Reflective Practice Perspective. (6th ed.). Boston: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-13

How to Cite

สมจิตร พ., & ภูมิพันธุ์ ส. . (2020). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(3), 3–12. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/239943