การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

ผู้แต่ง

  • แคชริญา ภูผาสิทธิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ปาริชาติ ประเสริฐสังข์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาตามเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาเรียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบบันทึกผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน และแบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า ท้ายวงจรกิจกรรมการเรียนรู้วัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา พัฒนานักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาเท่ากับ 19.81 คิดเป็นร้อยละ 79.27 โดยมีผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทั้งสิ้น 8 คน คิดเป็นร้อยละ 72.72

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16).

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนบ้านนาเรียง. (2561). งานวิชาการโรงเรียนบ้านนาเรียง. ยโสธร: ทรายมูลโฟโต้.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:

พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ .กรุงเทพฯ:

ส เจริญการพิมพ์.

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2537). เอกสารประกอบคำบรรยาย “การวิจัยเชิงปฏิบัติการ รูปแบบเพื่อพัฒนาการเรียนรู้”. ขอนแก่น:

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Polya, G. (1973). How to solve it : A New Aspect of Mathematical Method. New Jersey: N.J Princeton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-13

How to Cite

ภูผาสิทธิ์ แ., & ประเสริฐสังข์ ป. . (2020). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(3), 141–148. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/239140