การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษด้วยการเขียนแบบเน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ, การเขียนแบบเน้นกระบวนการ, การเขียนภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ด้วยการเขียนแบบเน้นกระบวนการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการฝึกทักษะการเขียนแบบเน้นกระบวนการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน บ้านแดงหม้อ และโรงเรียนบ้านทัน อำเภอเขื่องใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการฝึกทักษะการเขียนด้วยการเขียนแบบเน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 ชุด แบบวัดทักษะการเขียนแบบอัตนัย จำนวน 3 ตอน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษด้วยการเขียนแบบเน้นกระบวนการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการสอนด้วยวิธีการเขียนแบบเน้นกระบวนการ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7371 แสดงว่านักเรียนมีทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น .7371 หรือคิดเป็นร้อยละ 73.71 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ .50 ขึ้นไป
References
กนกพร บุญอาจ. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
กฤติกา ศรียงค์. (2552). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แผนภูมิกราฟิก. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ขวัญตา มากมูล. (2555). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6 ด้วยแผนผังความคิด (Mind Mapping). วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.
ชุดาภรณ์ แท่นอ่อน. (2553). ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การฝึกเขียนแบบเน้นกระบวนการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดงเจนวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ธุลีกาญจน์ ฟองอ่อน. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
นันทนิจ ธูปจุ้ย. (2560). การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาฝรั่งเศส โดยใช้วิธีการเขียนแบบเน้นกระบวนการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562, จาก https://edu.msu.ac.th/jem/home/journal_list.php
พัทธมน ภิงคารวัฒน์. (2557). การสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการเพื่อพัฒนาความสามารถทางการเขียนความเรียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วารุณี สุขชูเจริญกิจ. (2556). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สามารถ ประเสริฐโส. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการและการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมัย อินอร่าม. (2561). รายงานผลการสอบ O-NET ระดับเครือข่าย. การประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. 2560 เครือข่าย ที่ 10 เขื่องใน 3 ครั้งที่ 6. 10 มกราคม 2561. อุบลราชธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1.
สุพรรณ์ ก้อนคำ. (2556). ผลการสอนเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการเสริมด้วยแผงใยแมงมุมต่อความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อัญชลี อุดมสุขถาวร. (2553). การศึกษาผลการใช้วิธีการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดาราสมุทรศรีราชา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Coe, R. M. & Gutierrez, K. (1981). Using Problem-Solving Procedures and Process Analysis to Help Students
with Writing Problems. Retrieved June 25, 2019, from http://www.jstor.org/stable/356189
Javis, D. J. (2002). The Process Writing Method. Retrieved June 25, 2019, from http://iteslj.org/Techniques
/Javis-Writing.html
Sun, C. & Feng, G. (2009). Process Approach to Teaching Applied in Different Teaching Models. English Language
Teaching, 2(1), 150-155.
Widodo, H.P. (2008). Process-based Academic Essay Writing Instruction in an EFL. BAHASADAN SENI, 36(1),
-111.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว