การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองในการเรียนรู้ ของนักเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนคลองขามวิทยาคาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพครู, การจัดการเรียนรู้, การกำกับตนเองในการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและสาเหตุของปัญหาของครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริม การกำกับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียน 2) ศึกษากลวิธีการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองในการเรียนรู้ ของนักเรียน 3) ศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนคลองขามวิทยาคาร จำนวน 19 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกการประชุม แบบบันทึก การวิเคราะห์เอกสาร กลวิธีการพัฒนาศักยภาพครู แบบประเมินคุณภาพกลวิธีการพัฒนาศักยภาพครู แบบทดสอบ แบบประเมินการออกแบบและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของครู ครูประสบปัญหาเรื่องการออกแบบและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล 2) ครูมุ่งเน้นการสอนแบบบรรยายมากเกินไป 3) ครูจัดการเรียนการสอนไม่ครบ ตามมาตรฐาน ตัวชี้วัดที่กำหนด สาเหตุของปัญหา คือ ครูขาดความเข้าใจเรื่องทฤษฎีการเรียนรู้ การออกแบบและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ครูไม่ได้วัดประเมินผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ 2. กลวิธีการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพครูซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) องค์ประกอบของหลักสูตร 4) ลำดับขั้นตอน ของหลักสูตร 5) บทบาทครู 6) ระบบการสนับสนุนของผู้บริหาร 7) วิธีการวัดและประเมินผลหลักสูตร 3. ผลของการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่าหลังการอบรมครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรู้ โดยครูผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 80 ทุกคน โดยรวมครูมีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก
References
โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร. (2558). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2558. กาฬสินธุ์: อัดสำเนา.
ณรงค์ โสภิณ และคณะ. (2556). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสืบสอบและการรู้คิดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(3), 32-41.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2553). โมดูล 2 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ในหลักสูตรฝึกอบรมครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. เอกสารประกอบการอบรมครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. ชลพฤกษ์รีสอร์ท จังหวัดนครนายก. 7-21.
ภัทราภรณ์ สังข์ทอง. (2550). พัฒนาการของการเรียนรู้โดยการกํากับตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีการรับรู้ความสามารถของตนเองต่างกัน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). การวิจัยทางการบริหารการศึกษาแนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุระพรรณ พนมฤทธิ์, ศุกร์ใจ เจริญสุข และนันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา. (2554). การเรียนรู้โดยการกำกับตนเองของนักศึกษาพยาบาลที่มีการรับรู้ความสามารถของตนเองแตกต่างกัน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(2), 94-107.
Bandura, A. (1994). Self-efficacy: The exercise of control. USA: W.H. Freeman and Company.
Chukwudi, E. K. & Okoro, C. O. (2011). Metacognition stratigies : Aviable tools for self-directed Learning. Journal of educational and social research, 1(4), 71-76.
Jones, M. E., Antonenko, P. D. & Greenwood, C. M. (2012). The impact of collaborative and individualized student response system strategies on learner motivation, metacognition, and knowledge transfer. Journal of Computer Assisted Learning, 487.
Kemmis, S., & McTaggart , R. (1992). The Action Research Planner. Victoria : Deakin University Press.
Perry, N. E., Phillips, L. & Hutchinson, L. M.. (2006). Student teachers to support self - regulated learning. Elementary School Journal, 106(3), 237–254.
Schraw, G., Crippen K. J., & Hartley, K. (2006). Promoting Self-Regulation in Science Education: Metacognition as part of a broader Perspective on Learning. Research on Science
Education, 36, 111-119.
Turan S. & Demirel O. (2010). The relationship between self-regulated learning skill and achievement :Acase from Hacettepe university medical school. H. U. Journal of Education, 38(2), 279-291.
Winne, Philip H. (1997). Experimenting to Bootstrap Self-Regulated Learning. Journal of Educational Psychology, 89(3), 397-410.
Zimmerman, B.J. & D.H. Schunk. (2011). Self-Regulated Learning and Performance An Introduction and Overview,” in Handbook of Self-Regulated Learning And Performance.
Edited by B.J. Zimmerman and D.H. Schunk. New York :Taylor & Francis.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว