การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
คำสำคัญ:
โปรแกรมพัฒนาครู, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, วิธีการพัฒนาครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครู โดยกลุมเป้าหมาย ไดแก ผู้บริหารสถานศึกษา และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รวมทั้งสิ้น 212 คน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ใชเทคนิคการสุมแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช ไดแก แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิจัยหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ 2) การวางแผนการสอน 3) การกำหนดเนื้อหา 4) การดำเนินการสอน 5) การประเมินผลการเรียนรู้ 2. สภาพปัจจุบันของจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ใช้วิธีการพัฒนาครู 3 วิธี ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ, การอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ และการเป็นพี่เลี้ยง 3. การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (2551-2554). กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
กำธร ทาเวียง. (2553). การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เชษฐา ค้าคล่อง. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2544). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประวิต เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ จำกัด.
เพ็ญนภา ธีรทองดี. (2552). การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหาร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
วีระชัย ศรีวงษ์รัตน์. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศักดิ์ดา คำโส. (2557). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจทีมงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟริคจำกัด.
อัญชลี สารรัตนะ. (2542). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ การศึกษาแบบบูรณาการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ทีพีพริ้น.
มณีรัตน์ ศุภานุสนธิ์. (2560). การสอนสังคมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560, จาก
https://www.gotoknow.org/posts/117433
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (2560). นโยบายการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560, จาก https://sites.google.com/a/kksec.go.th/policyandplanninggroup/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว