การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียน สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ วิธีการพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 317 คน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินองค์ประกอบของการวิจัยในชั้นเรียน แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีความต้องการจําเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการทำวิจัยในชั้นเรียน มีจำนวน 5 องค์ประกอบ และมีการประเมินองค์ประกอบโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สภาพปัจจุบันของการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน สภาพที่ พึงประสงค์ของการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การประเมินโปรแกรมพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
ชัยโย โททุมพล. (2553). การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านหนองผือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เชษฐา ค้าคล่อง. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บัวสอน จำปาศรี. (2558). แนวทางการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปราโมทย์ วีรวรรณ. (2551). การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน:กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านท่าสองคอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2553). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
มนพ สกลศิลป์ศิริ. (2553). การพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศักดิ์ดา คำโส. (2557). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจทีมงาน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). พื้นฐานการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สุบรรณ์ จำปาศรี. (2552). กระบวนการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู กรณีศึกษา:
โรงเรียนบ้านหนองครก อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์
คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
สุภัทรา เอื้อวงศ์. (2554). การวิจัยในชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2559, จาก
https://sites.google.com/site/prapasara/ 14-1
สุวิทย์ ยอดสละ. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวานิช. (2552). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 4. (2560). ข้อมูลสารสนเทศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). การวิจัยในชั้นเรียน. การประชุมวิชาการ “การวิจัยในชั้นเรียน”ครั้งที่ 4 ประจำปี 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว