การใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการตั้งคำถามโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เฉลิมวุฒิ ศุภสุข คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก, เทคนิคการใช้คำถาม, ความสามารถในการตั้งคำถาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์กเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์หลังเรียน โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม 2) เปรียบเทียบระดับของการตั้งคำถามโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ก่อนและหลังเรียนโดยการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 99 คน ในรายวิชา SED4135 โครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม จำนวน 4 แผน 16 ชั่วโมง และ 2) แบบสังเกตพัฒนาการในการตั้งคำถามโครงงานวิทยาศาสตร์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินความสามารถในการตั้งคำถามโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบอัตนัย ใช้เกณฑ์การประเมินให้คะแนนแบบแยกประเด็น วิเคราะห์ข้อมูลด้านสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม มีคะแนนความสามารถ ในการตั้งคำถามเท่ากับร้อยละ 85.84 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 และจัดอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก และ 2) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม มีคะแนนความสามารถในการตั้งคำถามโครงงานวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กิ่งทอง ใบหยก. (2554). ยุทธการการหาหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์แบบมีคุณภาพ. โครงงานวิทยาศาสตร์ : การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559, จาก http://kormor.obec.go.th/act/act081.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559,

จาก http://www.moe.go.th/edtechfund/fund/images/stories/laws/prb_study(final).pdf

นัยนา ตรงประเสริฐ. (2544). การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการตั้งคำถาม

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยมีและไม่มีการฝึกตั้งคำถามเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2548). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน : การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2559). สอนเด็กทำโครงงาน สอนอาจารย์ทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). พจนานุกรมศัพท์ศึกษา: อักษร A-L. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562,

จาก http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf

Blosser, P.E. (2000). How to Ask the Right Questions. Retrieved February 5, 2019,

from: http://static.nsta.org/pdfs/201108bookbeathowtoasktherightquestions.pdf

Brame, C.J. (2016). Active Learning. Vanderbilt University Center for Teaching. Retrieved February 9, 2019, from: https://cft.vanderbilt.edu/wp-content/uploads/sites/59/Active-Learning.pdf

Christersson, C., Dakovic, G., Peterbauer, H., and Zhang, T. (2019). Promoting active learning in university: Thematic Peer Group Report. Retrieved February 5, 2019, from https://eua.eu/downloads/publications/eua%20tpg%20report%205-%20promoting%20active%20learning%20in%20universities.pdf

Dias, M. (2011). Teaching Strategies for Active Learning. [online]. Retrieved February 5, 2019,

from https://tlss.uottawa.ca/site/images/1-SAEA/CPU/publications/cafe_ped_en_06.pdf

Lewis, K.G. (2002). Developing Questioning Skills. [online]. Available from http://www1.udel.edu/chem/white/U460/Devel-question-skills-UTx.pdf [2019, February]

Martine, K., Stephen, M.E., and Young, M. (2019). Student Guide: How to Do a Science Fair Project. Retrieved February 5, 2019, from https://www.massscifair.com/sites/default/files/

student_guide_312_0.pdf

Mendonca, M. and Franberg, G. (2014). Exploring and Experience of Active Learning in Higher Education. Retrieved February 5, 2019, from https://www.researchgate.net/profile/Marta_Mendonca2/

publication/264914629_Exploring_an_Experience_of_Active_Learning_in_Higher_Education/links/53f5dbd20cf2fceacc6f75c9/Exploring-an-Experience-of-Active-Learning-in-Higher-Education.pdf?origin=publication_detail

Nappi, J.S. (2017). The Importance of Questioning in Developing Critical Thinking Skills. International Hournal for Professional Educators, Retrieved February 5, 2019, from https://cpb-us-e1.

wpmucdn.com/cobblearning.net/dist/6/3101/files/2018/05/The-Importance-of-Questioning-2aqkc5j.pdf

Nikam, P.S. (2014). Using Questioning Strategy to Enhance Scientific Process Skills. Retrieved February 5, 2019, from https://www.researchgate.net/publication/259884220_Questioning_Strategy_

To_Enhance_Scientific_Process_Skills

Nitko, A.S. (2007). Educational Assessment of Students. New Jersey: Pearson Education, Inc. 2007.

Northern Illinois University. (n.d.). Questioning Strategies to Engage Students. Retrieved February 5, 2019, from https://www.niu.edu/facdev/_pdf/guide/strategies/questioning_strategies_to_engage

_students.pdf

Northern Ireland Curriculum. (2007). Active Learning and Teaching Methods for Key Stage 3. Retrieved February 5, 2019, from http://www.nicurriculum.org.uk/docs/key_stage_3/ALTM-KS3.pdf

Shinichi Mizokami. (2018). Deep Active Learning from the Perspective of Active Learning Theory. Deep Active Learning: Toward Greater Depth in University Education. Retrieved February 5, 2019,

from https://www.mn.uio.no/om/organisasjon/adm/prosjekter/interact/aktiv-lering/deep-active-learning.pdf

Simmons, N. (2004). Science Success: Teacher Guide Supporting Student Science Fair Projects.

Retrieved February 5, 2019, from http://flasf.on.ca/wordpress/wp-content/uploads/2016/08/Science-Success-Teacher-Guide.pdf

Teaching Assistants’ Training Program. [TATP]. (2014). Active learning and adapting teaching techniques. Retrieved February 5, 2019, from https://tatp.utoronto.ca/wp-content/uploads/sites/2/Active-Learning-and-Adapting-Teaching-Techniques_TATP1.pdf

University of North Carolina at Chapel Hill. (2009). Classroom Activities for Active Learning.

Retrieved February 5, 2019, from https://cfe.unc.edu/files/2014/08/FYC2.pdf

Vale, R.D. (2013). The Value of asking questions. Retrieved February 5, 2019, from https://www.ncbi.nlm.

nih.gov/pmc/articles/PMC3596240/

VanCleave, J. (2559). โครงงานวิทย์เกรด A+. - กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-13

How to Cite

ศุภสุข เ. (2020). การใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการตั้งคำถามโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(3), 41–53. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/190962