การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • นิภาพร โพธิราช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อรัญ ซุยกระเดื่อง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อาทิตย์ อาจหาญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, แผนการจัดการเรียนรู้, การอ่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภูบดินทร์นุกูล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภูบดินทร์นุกูล ปีการศึกษา 2561 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน 2) แบบฝึกหัดเพื่อแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ชุด และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนวงจรที่ 1 นักเรียนบางคนอ่านคำไม่ได้ ขาดทักษะในการอ่าน ผลทดสอบวัดความสามารถในการอ่านไม่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จึงนำผลไปปรับปรุงในวงจรที่ 2 โดยปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น จนนักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลการศึกษาความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วงจรที่ 1 นักเรียนทำคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 24.26 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.19 และมีผู้ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 80 จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 72.73 ในวงจรที่ 2 ผลการวัดความสามารถในการอ่าน ของนักเรียน 12 คนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ มีค่าเท่ากับ 24.67 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 และมีจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 80 จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 100

References

กองเหรียญ มอนไธสง. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการ เรียนรู้ เรื่องการอ่านและการเขียน สะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร
และการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จิตรลดา ภูถาวร. (2555). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม เพื่อพัฒนาการอ่านคำพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นิตย์ พรหมประสิทธิ์. (2559). การแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย
กรณีศึกษา : โรงเรียนบ้านลาแล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. รายงานการศึกษา
ส่วนบุคคล สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

พริ้มเพราวดี หันตรา. (2541). การใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสรุปความจากบทร้อยแก้ว หนังสือชุดความรู้ภาษไทย ทักษะภาษา
นานาวิถี. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

วรพันธ์ โลกิตสถาพร. (2554). ชี้เด็กไทยไม่รักการอ่าน. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th
/Content /20752-ชี้เด็กไทยไม่รักการอ่าน.html

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2555). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไสว นามเกตุ. (2555). การปฏิบัติการพัฒนาการอ่านภาษาไทยเพื่อจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนบ้านโปร่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-19

How to Cite

โพธิราช น., ซุยกระเดื่อง อ., & อาจหาญ อ. (2019). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(3), 196–204. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/189183