สถานภาพและแนวทางการบริหารหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ ช่างเหลา นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประชาสรรค์ แสนภักดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สถานภาพหนี้สินและแนวทางการบริหาร, สหกรณ์ออมทรัพย์, การวางแผนใช้เงินกู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลด้านหนี้สิน แนวทางการบริหาร และแก้ไขปัญหา ที่เกิดจากการมีหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด ข้อมูลได้จากการตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด จำนวน 391 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้วิธีการหาความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 50-59 ปี สมรสแล้ว การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพข้าราชการ อายุงาน 20 ปีขึ้นไป รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป รายได้เสริมไม่เกิน 10,000 บาท นำเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด มีสมาชิกครอบครัว 5 คน รายได้รวม มากกว่า 70,000 บาท รับภาระร่วมกันในครอบครัว เป็นสมาชิกสหกรณ์ 16 ปีขึ้นไป ใช้บริการเงินกู้สามัญ วงเงินกู้ 1,000,001–2,000,000 บาท ส่งชำระหนี้ 10,001–20,000 บาทต่อเดือน ให้เพื่อนสมาชิกเป็นผู้ค้ำประกัน ส่วนใหญ่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ 2) การวางแผนใช้เงินกู้ สมาชิกเห็นว่าก่อนที่จะกู้เงิน ก็มีวัตถุประสงค์อยู่แล้ว การแก้ปัญหาหนี้สินเห็นว่าต้องมีการวางแผนเรื่องการใช้จ่าย และหารายได้เสริม 3) แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สิน พบว่าจะต้องเกิดจากการสร้างเสริมวินัยทางการเงินให้แก่สมาชิก หารายได้เสริม ต้องการให้สหกรณ์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ หรือปรับโครงสร้างหนี้ตามความจำเป็น

References

ดาว นามบัณฑิต. (2542). การศึกษาสภาพหนี้สินและความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นันทรัตน์ จิโรภาส. (2552). ภาวะหนี้สินของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญมี จันทรวงศ์. (2543). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสหกรณ์ในภาคการเกษตร: กรมส่งเสริมเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พิชชากร แจ่มศรี. (2550). ภาวะหนี้สินและแนวทางการบริหารหนี้สินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนนทบุรีจำกัด. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พิชัย ลิมานนท์ดำรงค์. (2547). การศึกษาภาวะหนี้สิน ของสมาชิกโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชีวิตครูจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

เมรีนา ปลื้มปัญญา. (2544). ความต้องการสินเชื่อและภาวะหนี้สินของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพายัพ.

วรรณศิริ อยู่สุข. (2542). การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ สมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด ตามเกณฑ์ พิจารณาคัดเลือกสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วิลาวัณย์ ด้วงไพร. (2558). การศึกษาภาวะหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารออมสิน จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงาน ก.พ.. (2560). กำลังคนภาครัฐ 2559 : ข้าราชการพลเรือนสามัญ, กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่จำกัด.

สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด. (2557). รายงานประจำปี 2557. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

. (2558). รายงานประจำปี 2558. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

สำรวม จงเจริญ. (2546). การศึกษาวิจัยปัญหาหนี้สินข้าราชครู 2544 (A Study of Government School Teacher’s Debt Problem 2001). วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 43(1), 187-212.

อารียา คงเอียง. (2550). ความต้องการสินเชื่อของข้าราชการครู กรณีศึกษา สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสงขลา จำกัด. สารนิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29

How to Cite

ช่างเหลา จ., & แสนภักดี ป. (2019). สถานภาพและแนวทางการบริหารหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(1), 174–184. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/186039