ฐานข้อมูลสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัน เนานาดี นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จำนง วงษ์ชาชม รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สุชานาถ สิงหาปัด อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ฐานข้อมูลแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท, ระบบสารสนเทศ, แขวงสะหวันนะเขต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไทแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สำหรับใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเพื่อเผยแพร่ฐานข้อมูลแม่ลายผ้าแส่วผู้ไทให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างต่อไป ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีชาวผู้ไทช่วงอายุระหว่าง 50-80 ปี จำนวน 30 คน อาศัยอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต บ้านละหาน้ำ เมืองสองคอน และบ้านเมืองจัน เมืองเซโปน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผ้าแส่ว คือ ผ้าสี่เหลี่ยมขนาดเล็กสีขาว เป็นสิ่งทอของชาวผู้ไทซึ่งรวบรวมลายต่าง ๆ ไว้บนผืนผ้า ลวดลายที่ปรากฏแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ลายพืช ลายสัตว์ ลายของใช้ของสอย และลายอื่น ๆ 2) การวิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลเพื่อออกแบบระบบแม่ลายผ้าแส่วผู้ไทแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้ data flow และพัฒนาระบบ (SDLC) ตามลำดับขั้นตอนแผนภาพของข้อมูล 3) ผลของการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวม องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ ผ้าแส่วซึ่งเป็นต้นแบบฐานข้อมูลเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอพื้นเมือง

References

แก้วตา จันทรานุสรณ์. (2546). ภูมิปัญญา คุณค่าและหน้าที่ ในสารวัฒนธรรมปีที่ 9 ฉบับที่ 2 สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

วัชรวร วงศ์กัณหา. (2558). วิจิตรแพรวา มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม. ขอนแก่น: บริษัท ศิริภัณฑ์ 2497 จำกัด.

ทรงพันธ์ วรรณมาศ. (2556). การจัดระบบฐานข้อมูลแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และสีย้อมธรรมชาติในผ้าทอพื้นบ้านภาคเหนือ เพื่อพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

รัชนี กัลยาวินัย และอัจฉรา ธารอุไรกุล. (2545). การวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ:
บริษัทการศึกษา.

ไพบูลย์ เกียรติโกมล และณัฏฐพันธ เขจรนนท. (2551). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2553). ระบบไอซีที และการจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: วิตตี้กรุ๊ป.

สุชานาถ บุญเที่ยง. (2558). วิจิตรแพรวา มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม. ขอนแก่น: บริษัท ศิริภัณฑ์ 2497 จำกัด.

.(2559). ผ้าแส่ว : ต้นแบบแห่งลวดลายบนผืนผ้าแพรวา. วารสารนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 58-67.

. (2560). ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วัฒนธูรรม กิจกรรมสร้างรายได้เพิ่มแก่ชุมชนผู้ไท บ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 5(1), 58-60.

ภูวดล ศรีธเรศ. (2558). แพรเบี่ยงผู้ไทในบริบทของการจัดการคุณค่าและมูลค่า. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 2(3), 178-179.

. (2558). วิจิตรแพรวา มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม. ขอนแก่น: บริษัทศิริภัณฑ์ 2497 จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29

How to Cite

เนานาดี ล., วงษ์ชาชม จ., & สิงหาปัด ส. (2019). ฐานข้อมูลสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(1), 79–88. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/186025