กระบวนการบริหารจัดการสภาพลเมืองตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา บนฐานประชาธิปไตยชุมชน
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ประชาธิปไตยชุมชน, สภาพลเมืองตำบลควนรู, Management Process, Cemocratic Community, Khuanru Civic Councilบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการสภาพลเมืองตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รวมทั้งศึกษาปัจจัยหนุนเสริมที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จจากการนำประชาธิปไตยระดับชุมชนสู่การพัฒนาศักยภาพของสภาพลเมืองตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการสภาพลเมืองตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รวมทั้งศึกษาปัจจัยหนุนเสริมที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จจากการนำประชาธิปไตยระดับชุมชนสู่การพัฒนาศักยภาพของสภาพลเมืองตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนของสภาองค์กรชุมชนและตัวแทนหน่วยราชการส่วนท้องที่ หน่วยละ 9 คน รวมทั้งสิ้น 27 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบการศึกษาบริบทเชิงพื้นที่ ทั้งนี้ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารจัดการสภาพลเมืองตำบลควนรู นับเป็นผลผลิตสำคัญของการก่อรูปจากการเมืองสมานฉันท์ซึ่งมีขอบข่ายการดำเนินงานด้วยกลไก “การจัดการตนเอง 8 ระบบ 30 แหล่งเรียนรู้” นอกจากนี้การขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาพลเมืองตำบลควนรู ในลักษณะของการจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่จะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการเสริมสร้างอำนาจให้ประชาชนมีบทบาทผ่านช่องทางที่กำหนดไว้ร่วมกับองค์กรทางการเมืองทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการส่วนท้องที่และสภาองค์กรชุมชนอีกด้วย ขณะเดียวกันภายใต้กลไกการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับประชาชน สู่การเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ตำบลควนรูดังกล่าวมีความสอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยในระดับของการจัดการตนเองหรือแนวคิดชุมชนาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญ
References
โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์. (2552). อภิวัฒน์ท้องถิ่น : สำรวจทฤษฎีการเมืองเพื่อสร้างท้องถิ่นให้เป็นฐานใหม่ของประชาธิปไตย. ในเอนก เหล่าธรรมทัศน์. กรุงเทพฯ: ที คิว พี.
ถั่น จุลนวล. (2559). องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. (15 กันยายน 2559) สัมภาษณ์.
ธนัย เกตวงกต. (2558). บนทางแพร่งแห่งสภาพลเมือง/สมัชชาพลเมืองของไทย. รัฐสภาสาร, 63(7), 9-28.
ศักดิ์ชัย พูลผล. (2559). องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. (11 กันยายน 2559) สัมภาษณ์.
สวิง ตันอุด และไพสิฐ พาณิชย์กุล. (2556). การศึกษารูปแบบสภาพลเมืองที่เหมาะสมสำหรับเชียงใหม่จัดการตนเอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
สมนึก หนูเงิน. (2559). องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. (13 กันยายน 2559) สัมภาษณ์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรสิทธิ์ วชิรขจร. (2559). การประเมินการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(2), 31–58.
อัศว์ศิริ ลาปีอี และภาณุ ธรรมสุวรรณ. (2559). รูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการสภาพลเมืองบนฐานประชาธิปไตย ชุมชน ศึกษากรณีการจัดตั้งสภาพลเมืองตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู. (2555). โครงการสร้างสุขภาวะผู้บริโภคตำบลควนรู. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2553). ประชาธิปไตยชุมชนรัฐศาสตร์สำหรับสภาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน (องค์การมหาชน).
Forrest David Mathews. (1999). Politics for Peoples: Finding a Responsible Public Voice (2nd Ed.), Chicago: University of Illinois Press. Chapter 7.
Joseph E Kahne and Others. (2007). Developing Citizen : The Impact of Civic Learning Opportunity on Student’s Commitment to Civic Participation. Paper presented at The Annual Meeting of The American Political Science Association. Chicago: Illinois.
Yonne Hebert and Alan Sears. (2007). Citizenship Education. Retrieved 30 July 2017. Form https://www.cea-ace.ca/media/en/Citizenship_Education.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว