การพัฒนาระบบกลไกการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเชิงพื้นที่
คำสำคัญ:
ระบบกลไก, การปฏิรูปการเรียนรู้, เชิงพื้นที่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบกลไกการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบกลไกการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเชิงพื้นที่ และ 2) ประเมินระบบกลไกการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเชิงพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนชุมชนบ้านคำพระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือ ที่ใช้ในการปฏิบัติการ ประกอบด้วย แนวทางการใช้ระบบกลไกการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเชิงพื้นที่ และแผนนิเทศ ติดตาม และประเมินผล การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติการประกอบด้วย แบบประเมินโครงสร้างบูรณาการรายวิชา หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ และแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ แบบสังเกตการสอน แบบบันทึกการทบทวนผลการปฏิบัติงาน และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบกลไกการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเชิงพื้นที่ มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในแต่ละวงรอบ โดยเริ่มจากโค้ชประจำโรงเรียนจัดทำแผนและเครื่องมือนิเทศ ต่อจากนั้นโค้ชประจำโรงเรียนสร้างข้อตกลงกับครูและผู้บริหารโรงเรียน หลังจากนั้นครูปฏิบัติการสอนโดยมีโค้ชประจำโรงเรียนและผู้บริหารโรงเรียนร่วมกันนิเทศครู ต่อมาครูปฏิบัติการสอนโดยมีเพียงผู้บริหารโรงเรียนนิเทศช่วยเหลือครู เมื่อครูปฏิบัติการสอนได้ระยะหนึ่งแล้ว ผู้บริหารโรงเรียนนำคณะครูจัดกิจกรรมการทบทวนผลการปฏิบัติงานโดยมีโค้ชประจำโรงเรียนร่วมสังเกตการณ์ และสุดท้ายครูปฏิบัติการสอนโดยมีโค้ชประจำโรงเรียนและผู้บริหารโรงเรียนร่วมกันนิเทศครู 2) การจัดทำโครงสร้างบูรณาการรายวิชา ออกแบบหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.77)3) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.77)
References
จุฑามาศ หมื่นแก้ว. (2553). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโรงเรียนบ้านดอนนา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชุณหกานต์ ชูดี. (2555). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโรงเรียนวัดบ้านหนองคึม อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
ประกายสิทธิ์ เศษสุวรรณ. (2553). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบบูรณาการ โรงเรียนบ้านนาทม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประวิต เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.
ยุทธนา เพ็งสวัสดิ์. (2550). การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโรงเรียนทุ่งฝนวิทยาคาร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รังสรรค์ ถิ่นสุข. (2551). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนบ้านหนองขามหัวหนองสามัคคี อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิทยา จันทร์ศิริ. (2551). การพัฒนาสมรรถนะและจริยธรรมในการบริหาร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพรรณี ใจนวน. (2550). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนศรีตระกูลวิทยา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี. ที. ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
. (2558). โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (พ.ศ. 2557-2560) “สะท้อนปัญหาและทางออก ตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาไทย”. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
Kemmis, S. and R. McTaggart. (1988). The Action Research Planner (3rded). Victoria: Deakin University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว