การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
คำสำคัญ:
การพัฒนาตัวบ่งชี้, ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี กับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการมี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างตัวบ่งชี้เชิงสมมติฐานที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80–1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .33 - .78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 13 องค์ประกอบย่อย และ 66 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบหลักด้านทักษะด้านสารสนเทศ มี 3 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ ทักษะด้านสื่อ มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ และทักษะด้านเทคโนโลยี มี 6 องค์ประกอบย่อย 30 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลโครงสร้างทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-Square : χ2) เท่ากับ 43.33 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 46 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ .58 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .96 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .00
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MICT). (2559). กระทรวงไอซีที ผนึก ATCI และ สพฐ.เดินหน้าส่งเสริมการเข้าถึง
ICT ของเด็กไทย เตรียมพร้อมเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ไอเดียเวิร์คส์ คอมมิวนิเคชั่นส์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ณัฐกานต์ ภาคพรต และณมน จีรังสุวรรณ. (2557). การเปรียบเทียบทักษะด้านสารสนเทศสื่อและไอซีที สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการประเมินตามสภาพจริง กับความคาดหวัง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 9(2), 35-45.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมิน. การประชุมวิชาการ เปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม ครั้งที่ 1. 29 สิงหาคม 2551. โรงแรมแอมบาสเดอร์. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา 21st Century Skills: A Challenge for Student Development. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). แนวการเรียนรู ้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 21st Century Learning in Science. วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต, 9(1), 136-154.
ปาจรีย์ ทรงเสรีย์. (2559). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรทิพย์ เย็นจะบก. (2558). เด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ฉลาดรู้...ฉลาดเลือก. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ลักษณา พงษ์ภุมมา. (2560). ปัญหาของวัยรุ่นในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561, จาก http://164.115.41.60/knowledge/?p=436.
วันเพ็ญ นันทะศรี. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(23), 42.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล. ส. เจริญการพิมพ์.
ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1856-1867.
ไสว ฟักขาว. (2560). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century skills). สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560, จาก www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MjI5Mzc3.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Skills). สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561, จาก https://www.slideshare.net/taxiboat/21-23558246.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อัครเดช นีละโยธิน. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง. ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1-17.
อนุชา โสมาบุตร. (2556). ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560, จาก https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/information-media-and-technology-skills/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว