การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • สใบแพร สัพโส นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • อภิสิทธิ์ สมศรีสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ รองศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, การพัฒนาตัวบ่งชี้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 435 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.60–1.00 มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.46-0.91 และมี ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค-สแควร์ ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ชนีวัดความสอดคล้องที่ปรับแล้วค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ ดัชนีที่แสดงขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ที่ยอมรับ ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย 65 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น ความยืดหยุ่น จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ ความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 16 ตัวบ่งชี้ จินตนาการ จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ และวิสัยทัศน์ จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ โมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 25.96 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 24 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value) เท่ากับ 0.35 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.01 ค่าดัชนีที่แสดงขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับ (CN) เท่ากับ 702.19 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ทั้ง 65 ตัวบ่งชี้ มีค่าตั้งแต่ 0.45–1.00

References

กลุ่มสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา.
สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/school_web.php?Area_CODE=4701

กลุ่มสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา.
สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/index_area.php?Area_CODE=4702

กลุ่มสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา.
สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/index_area. php?Area_CODE=4703

กัลวัฒน์ มัญชะสิงห์. (2554). การิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis). สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561,
จาก https://kalawat.esu.ac.th/joomla1522/index.php/component/content/article/44-resarch/83-
correlation-analysis.

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา.
ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไกศิษฏ์ เปลรินทร์. (2552). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา: ยุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูป
รอบ 2 และการประเมินภายนอกรอบ 3 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมิน. การประชุมวิชาการ เปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม ครั้งที่ 1.
29 สิงหาคม 2551. ฌ โรงแรมแอมบาสเดอร์: 8-15.

ประยูร เจริญสุข. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้งานวิชาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.


เริงชัย ตันสุชาติ. (2548). เศรษฐมิติ= Econometrics. เชียงใหม่: โรงพิมพ์โทนคัลเลอร์.

วิมล จันทร์แก้ว. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยรังสิต.

สมชาย รุ่งเรือง และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). รูปแบบการพัฒนาผู้นำสู่การสร้างแรงผลักดันเชิงสร้างสรรค์. Verdian E-Journal,
Silpakorn University, 10(1), 29-46.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการวิจัยผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยใน 5 ปี ข้างหน้า.
กรุงเทพฯ: บริษัทออฟเซทเพรส จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). จะปฏิรูปการศึกษาให้เกิดผลจริงได้อย่างไร. รายงานเรื่องภาวะการศึกษาไทย
ปี 2552-2553 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยและพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

สุขพัชรา ซิ้มเจริญ. (2556). โครงสร้างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้นิเทศภายในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-18

How to Cite

สัพโส ส., สมศรีสุข อ., & เพ็งสวัสดิ์ ว. (2019). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(3), 37–45. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/180574