การพัฒนาการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพของกลุ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ลลิตา พิมทา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนาการจัดทำบัญชี, บัญชีต้นทุน, ต้นทุนประกอบอาชีพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา แนวทางแก้ไข และความต้องการพัฒนาด้านการจัดทำบัญชี และเพื่อประเมินผลการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพของกลุ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 39 กลุ่มอาชีพ ผู้ทำบัญชีกลุ่ม 69 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสนทนากลุ่ม การอบรม การทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการฝึกอบรม และทดลองการฝึกปฏิบัติจริงเป็นระยะเวลา 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า เกษตรกรขาดองค์ความรู้เรื่องการจัดทำบัญชี การคำนวณต้นทุน ขาดบุคคลในการจัดทำบัญชี และไม่มีระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐาน โดยมีความต้องการในการพัฒนา คือ ต้องการอบรมด้านการบัญชี คำนวณต้นทุน การกำหนด ราคาขาย การลงทุน และสอนทำบัญชีในกลุ่มอาชีพ การทดสอบความรู้ความเข้าใจการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพก่อนการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.43) และหลังการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.67) และจากการทดลองนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ กลุ่มอาชีพโดยส่วนใหญ่สามารถบันทึกบัญชีราย–รับรายจ่าย และคำนวณต้นทุนประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้อง โดยผู้ทำบัญชีกลุ่มสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้การพัฒนาการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.08)

References

กิรณา ยี่สุ่นแซม. (2561). การจัดการความรู้ด้านการบัญชีและการเงินโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มจัดการขยะ ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 14-27.

ชลกนก โฆษติคณิน, ชนิดาภา ดีสุขอนันต์ และวรเทพ ตรีวิจิตร. (2560). ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(3), 2,138-2,151.

ชลลดา เหมะธุลิน, นฤมล ชินวงศ์ และยุทธนา จันทร์ปิตุ. (2561). ปัญหาในการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ประเภทจักสานในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8(1), 51-57.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. รายงานการวิจัย ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562, จาก https://fs.libarts.psu.ac.th/research/abstract/54-

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2553). หลักการวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเคอร์มิสท์.

พิมพ์รัก พุ่มเจริญ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของเกษตรกรและแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่เหมาะสม. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562, จาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802030790_5209_4099.pdf

พิมพ์พิศา วรรณจิตร และปวีนา กองจันทร์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1,926-1,942.

เพ็ญนภา หวังที่ชอบ. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและระบบบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มจักสานหวาย บ้านวัดนาค ตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 20(1), 74-81.

วรลักษณ์ วรรณโล, สุชาติ ลี้ตระกูล, วัฒนา ยืนยง และชูศรี สุวรรณ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนขนาดเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(พิเศษ), 68-84.

วรวุธ ปลื้มจิตร, สักริวนทร์ อยู่ผ่อง, อัคครัตน์ พูลกระจ่าง และจิระศักดิ์ วิตตะ. (2561). การพัฒนาอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี เพื่อพัฒนาทักษะการถ่ายทอดความรู้. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 137-152.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Saranchit, T. (2015). Problem of Poverty in Thailand [in Thai]. EAU Heritage Journal: Social Science and Humanity, 5(2), 12-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-27

How to Cite

พิมทา ล. (2020). การพัฒนาการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพของกลุ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(1), 71–83. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/178521