การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
คำสำคัญ:
การพัฒนา, โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, โมเดลสมการโครงสร้างบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 และ 2)เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จำนวน 460 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความรับผิดชอบในการเรียน จำนวน 20 ข้อ แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต จำนวน 20 ข้อ แบบวัด อัตมโนทัศน์ จำนวน 30 ข้อ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ จำนวน 20 ข้อ และ แบบวัดเจตคติต่อการเรียน จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ () ตั้งแต่ .205 ถึง .543, .283 ถึง .728, .212 ถึง .698, .235 ถึง .702 และ .232 ถึง .741 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (
) เท่ากับ 0.733, 0.897, 0.839, 0.894 และ0.898 ตามลำดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Mplus 7
ผลการวิจัยพบว่าผลการวิจัยพบว่า
ผลการพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน ประกอบด้วย = 80.612, df = 66,
/df = 1.22, P–Value = 0.1065, CFI = 0.996, TLI = 0.993, RMSEA = 0.022 และ SRMR = 0.046 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความรับผิดชอบในการเรียนสูงสุด คือตัวแปรแฝงอัตมโนทัศน์ (SEL) รองลงมาคือ ตัวแปรแฝงเจตคติต่อการเรียน (ATT) ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (MOT) และตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคต (FUO) ตามลำดับ ตัวแปรทุกตัวในโมเดลร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรแฝงความรับผิดชอบในการเรียนได้ร้อยละ 63.9
References
เกษม วัฒนชัย. (2539). ความคาดหวังของพ่อแม่ต่อการศึกษาของลูก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
จรรยา สุวรรณทัต. (2531). เยาวชนไทยกับการมุ่งอนาคต. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
จำรูญ เทียมธรรม. (2546). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร,.
ดาริณี วงษ์อยู่น้อย. (2535). การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยใช้วิธีการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ทิศนา แขมมณี. (2526, ตุลาคม–ธันวาคม). “การสอนเพื่อเสริมสร้างอัตมโนทัศน์ตามแนวมนุษย์นิมนวกรรมการศึกษาระดับประถมศึกษา,” วารสารครุศาสตร์. 12 : 12–19.
เนตรชนก พุ่มพวง. (2546). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว อำเภอบางงพลีจังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ปิยกาญจน์ กิจอุดมทรัพย์. (2540). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับลักษณะมุ่งอนาคตของนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น วิทยาลัยสารพัดช่าง กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พรรณี ช. เจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อแกรมมี่.
มะลิ อุดมภาพ. (2538). การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
รุ่งนภา ทีฆะ. (2522). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตมโนทัศน์ความเชื่ออำนาจภายในภายนอกตน และสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพร เทพสิทธา. (2540). การส่งเสริมศาสนาและจิรยธรรมในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : สถาบันสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2541). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิรภัทร ขจรสมบัติ. (2553). การเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียน ความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีการอบรมเลี้ยงดู และลักษณะมุ่งอนาคตแตกต่างกัน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภาภรณ์ ศศิดิลกธรรม. (2543). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความอุตสาหะในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Lamm, H., Schmidt, R.W., & Trommsdorff. (1976). “Sex and Social Lass as Determinants of Future Orientation in Adolescent,” Journal of Personality and Social Psychology. 34(3) : 317–326.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว