การพัฒนาทักษะการใช้คำสันธานในภาษาอังกฤษด้วยสื่อบทเพลงร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • ปิยาพร อภิสุนทรางกูร

คำสำคัญ:

คำสันธาน, คำสันธานในภาษาอังกฤษ, บทเพลงร่วมสมัย

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการใช้คำสันธานในภาษาอังกฤษโดยการใช้สื่อบทเพลงร่วมสมัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 75 คน โดยแบ่งเป็น เพศชาย จำนวน 11 คน และเพศหญิง 64 คน โดยใช้การทดสอบก่อนและหลังโดยมีผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านในการตรวจแบบทดสอบเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ SPSS เพื่อหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแตกต่างของค่า t-test

   ผลการวิจัยพบว่าการทดสอบก่อนเรียนเรื่องการใช้คำสันธานในภาษาอังกฤษด้วยสื่อบทเพลงร่วมสมัยแสดงผลค่าเฉลี่ย  (mean) เท่ากับ 8.09 และผลการทดสอบหลังมีค่าเฉลี่ย (mean) 14.57 โดยจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันโดยการทดสอบหลังนั้นมีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้น และจากการทำแบบทดสอบเรื่องการพัฒนาทักษะการใช้คำสันธานในภาษาอังกฤษด้วยสื่อบทเพลงร่วมสมัยทั้งก่อนและหลังมีผลทางสถิติพบว่าค่า Sig. (2-tailed) มีค่า .000 นั้นสามารถแปลผลได้ว่า การพัฒนาทักษะการใช้คำสันธานในภาษาอังกฤษด้วยสื่อบทเพลงร่วมสมัย นั้นใช้ได้ผลกับการพัฒนาการใช้คำสันธานในภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนที่เป็นเช่นนี้เพราะมีค่าทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ของแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยการใช้สื่อบทเพลงร่วมสมัยไปจากผู้เรียนพบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมของแบบสอบถามทั้งหมด มีระดับคะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 4.10

References

ขนิษฐา จิตแสง. (2546). บทบาทของรายการเรดิโอโนพร็อบเบล็มต่อการพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้ฟัง. วิทยานิพนธ์ นศ.บ. (นิเทศศาสตร์พัฒนาการ). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2544). สัมมนาหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาริสา กาสุวรรณ์. (2556). ประสิทธิผลของกิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้และความคงทนของคำศัพท์และความสามารถด้านการพูด. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ล้วน สายยศ และองคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2557, กรกฎาคม). การใช้ภาษาอังกฤษกับอนาคตของไทยในอาเซียน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/notes/196634893728574/.

มิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2535). ความจำมนุษย์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Klatzky, R.L. (2009, September). “Giving psychological science away: The role of applications courses,” Perspectives on Psychological Science. (4) : 522-530.

Lertwatcha, S. (2557, พฤศจิกายน). ฝึกภาษารับวาเลนไทน์กับ 10 หนังรักสุดโรแมนติก. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.hotcourses.in.th/author/3224423/sutasinee-lertwatch.

Signum International S.a r.l Luxembourg Luzern Branch. (2557, พฤศจิกายน). เรียนภาษาอังกฤษจากเพลง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.englishtown.com/community/channels/article.aspx? articleName=122- music.

STOU e-Learning Centre. (2015, December). คำสันธาน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.stou.ac.th /schools/sla/b.a.english/D4LP/14212/Module6/content/content02.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31

How to Cite

อภิสุนทรางกูร ป. (2016). การพัฒนาทักษะการใช้คำสันธานในภาษาอังกฤษด้วยสื่อบทเพลงร่วมสมัย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 10(2), 154–162. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/176506