วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน มาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมคุณภาพ, ชุมชนแห่งการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ, โรงเรียนมาตรฐานสากลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตที่ 25 2) ศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 และ 4) ศึกษาปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล จานวน 329 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson Product Coefficient และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า1) ระดับวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ “มาก” เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ “มาก”โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรก คือ ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ รองลงมาคือ ด้านภาวะผู้นำด้านคุณภาพส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่าสุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม 2) ระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากลโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่อยู่ในระดับ“มาก” โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรก คือ ค่านิยม
และวิสัยทัศน์ร่วม รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการร่วมมือรวมพลัง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมคุณภาพกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
พบว่า มีความสัมพันธ์“สูง” ทุกด้านมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 พบว่ามีวัฒนธรรมคุณภาพ 3 ด้านร่วมกันพยากรณ์การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากล คือ 1) ด้านการให้ความสาคัญกับผู้รับบริการ 2) ด้านการเสริมสร้างพลังอานาจ และ 3) ด้านการทำงานเป็นทีมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ0.828 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรือค่าอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 68.5 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score) = 0.785 + 0.399(
) + 0.223(
) + 0.180(
) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
(Standardized Score) = 0.433(
) + 0.261(
) + 0.221(
) 8
References
กันยายน 2558 จาก http://www.onesqa.or.th/th/contentdownload-view/929/1155/
ชุลีพร เกลี้ยงสง. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ เพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับ
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2558. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัย
อีสเทิร์นเอเชีย
ธัญพร บุญรักษา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
ภาวนา กิตติวิมลชัย และกนกอร สมปราชญ์. (2556). วัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา : ในเครือข่ายอุดมศึกษาใน
ภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบน . ค้นจาก https://qm.kku.ac.th/files/14-255788134815-phanch-1.pdf.
มารยาท แซ่อึ้ง และเอกชัย กี่สุขพันธ์. (2552). การศึกษาการบริหารงานวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาระดับ
มัธยมศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล:
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา Vol.5, 2 พฤศจิกายน 2552 : 986-1000
ณัฐิกา นครสูงเนิน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต1. ค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2558
ค้นจากเว็บ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=168919
มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง กลยุทธ์การบริหาร
โรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา
กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2558 จาก
http://www.edu.chula.ac.th/ojed/doc/V93/v93d0032.pdf
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ.
วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2557. หน้า 93 – 102.
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว. (2558). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558
จาก https://candmbsri.wordpress.com/category/plc/ .
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง) สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
Batten, Joe D. (1992). Building a Total Quality Culture. Menlo Park, CA: Crisp Publication.
DuFour, R., Eakey, R., & Many, T. (2006). Learning by Doing A Handbook for Professional Learning
Communities at Work. Bloomington, IN: Solution Tree Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว