ปัจจัยเชิงเหตุของจิตเคารพนับถือและความเป็นพลเมืองของนักศึกษาปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • กัญญาวดี แสงงาม
  • ไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์
  • นีออน พิณประดิษฐ์

คำสำคัญ:

จิตเคารพนับถือ, ความเป็นพลเมือง, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงเหตุ ของจิตเคารพนับถือและความเป็นพลเมืองของนักศึกษา ปริญญาตรี โดยมีพื้นฐานกรอบแนวคิดในการวิจัยจากรูปแบบ ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 441 คน ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเป็นนักศึกษาชายจำนวน 153 คน และนักศึกษาหญิงจำนวน 288 คน ตัวแปรในงานวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ 1) จิตลักษณะเดิม 3 ตัวแปร คือ เหตุผล เชิงจริยธรรม ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และความเชื่อ อำนาจในตน 2) ตัวแปรสถานการณ์ คือ แบบอย่างพฤติกรรม เคารพนับถือของผู้สอน ตัวแปรตาม คือ จิตเคารพนับถือ และ ความเป็นพลเมือง รวมทั้งลักษณะภมูิหลังของนักศึกษา ซึ่งได้แก่ เพศ คณะ และพื้นที่ตั้งมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรหลัก 6 ตัวแปร มีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 6 ระดับ แต่ละ ฉบับมีค่าความเชื่อมั่น .805 - .849 วิเคราะห์ข้อมลูทั่วไป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสมการถดถอยพหุคูณ เพื่อหาตัวทำนายจติเคารพนับถือและความเป็นพลเมืองของ นักศึกษา ผลวิจัยพบว่า ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน เหตุผล เชิงจริยธรรม และความเชื่ออำนาจในตน ร่วมกันทำนาย จิตเคารพนับถือได้ร้อยละ 48.90 ส่วนตัวทำนายสำคัญของ ความเป็นพลเมืองของนักศึกษาปริญญาตรี คือ จติเคารพนับถือ เหตุผลเชิงจริยธรรม และความเชื่ออำนาจในตน ร่วมกันทำนาย ความเป็นพลเมืองได้ร้อยละ 13.90

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. . (2541). รูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยม (Interactionism model) เพื่อการวิจัยสาเหตุของพฤติกรรมและการพัฒนา พฤติกรรมมนุษย์. วารสารทันตาภิบาล. 10(2) : 105-108.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2551). หลักและวิธีการประมวลเอกสารเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. (ม.ป.ท.) : เอ.ที พรินติ้ง.

จินตนา ตันสุวรรณนนท์ และปิยะนุช เพียรรัตน์พิมล. (2552). ปัจจัยทางจิตลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพฯ : รายงานการวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดสุติ.

จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร และไพฑรูย์ พิมดี. (2554). จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤตกิรรมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคกลางตอนบนในประเทศไทย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. 21(2) : 436-446.

ชลายุทธ์ ครุฑเมือง. (2555). พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของครู : ปัจจัยและการพัฒนา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (หลักสูตรและการเรียนการสอน). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชวนชัย เชื้อสาธุชน. (2546). ตัวบ่งชี้ทางจิตสังคมของพฤติกรรมการประหยัดทรัพยากรของอาจารย์ในสถาบันราชภัฏ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. . (2552). ปัจจัยเชิงเหตุและผลที่เกี่ยวกับการใฝ่เรียนรู้คู่ความดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา.

เนาวรัตน์ พลายน้อย. (2545). “บทบาทของนักการศึกษาในการร่วมสร้างการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 26(2) : 11-17.

เบญจมาภรณ์ ช้อยเครือ. (2543). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อวิชาชีพครูและพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ของ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลเชิงจริยธรรมกับพฤติกรรมวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปริญญา เทวานฤมิตรกลุ. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์.

ผ่องศรี จั่นห้าว และคณะ. (2546). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน “หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต ในสังคม” กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสตูร การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

พรชัย ผาดไธสง. (2555). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (หลักสูตรและการเรยีนการสอน). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพรรณ อุทัยวี. (2544). ตัวบ่งชี้ทางจิตสังคมของพฤติกรรมใฝ่รู้ในนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วศิน อินทสระ. (2544). จริยศาสตร์ (ศาสตร์ที่ว่าด้วยความดี และศิลปะในการตัดสินใจ). กรุงเทพฯ : บรรณกิจ 1991.

วิชัย ตันศิริ. (2547). วัฒนธรรมการเมืองและการปฏิรูป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2548). รายงานการวิจัยเอกสารการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.์ (2555). การศึกษากับปัญหาของเยาวชนไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.nidapoll.nida.ac.th/main/index.php/en/2012-08-06-13-57-45/349-124-2555

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2541). แนวความคิดในการพัฒนาวินัยและอุดมการณ์ประชาธิปไตยในเยาวชน. ในคำบรรยายเกี่ยวกับ แนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่เน้นความมีวินัยและความเป็น ประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สมวาสนา ธนเมธีกุล. (2546). จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดชอบของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดกรมอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิยาลัยขอนแก่น.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2548). พลเมืองศึกษาของไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.research.chula.ac.th/cu_online/2548/march13_2.htm)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (มปป). เยาวชนคนกลุ่มเสี่ยง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_youth.jsp

อารมณ์ สนานภู่. (2545). “ตัวบ่งชี้ทางจิตสังคมของพฤติกรรมการประหยัดของนักศึกษาในสถาบันราชภัฏ,” วารสารวิชาการสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. 5(2545) : 1 - 23. Lickona, T. (1991). Educating for Character: How our Schools Can Teach Respect and Responsibility. NY : Bantam Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

How to Cite

แสงงาม ก., เติมเตชาติพงศ์ ไ., & พิณประดิษฐ์ น. (2017). ปัจจัยเชิงเหตุของจิตเคารพนับถือและความเป็นพลเมืองของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(1), 21–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/176332