การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหา อย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ, รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิด
แก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาประสิทธิภาพ
รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถ
การคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิด
แก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบัวขาว อาเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จานวน 1 ห้องเรียน
46 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียน
การสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ
สมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ มีชื่อว่า RARCA
Model จากการสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนของ Joyce and weil (2009 : 24) และทิศนา แขมมณี
(2556 : 4) สรุปได้ว่ามีองค์ประกอบสาคัญประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดผล
และประเมินผลระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน และสาระความรู้และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ รูปแบบการเรียน
การสอนที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (RARCA Model) ประกอบด้วย 1) ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Review : R)
2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (Analysis : A) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อยคือ 2.1) ขั้นระบุปัญหา 2.2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา
2.3) ขั้นเสนอวิธีการคิดแก้ปัญหา 2.4) ขั้นตรวจสอบผลลัพธ์ 3) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection : R) 4) สรุป
(Conclusion : C) และ 5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Application)
2. ประสิทธิภาพ (E1/E2) รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมี
วิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 88.00/84.42 เมื่อเทียบกับเกณฑ์
80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้
3. ความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน
แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถ
การคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
ธีรานุรักษ์. (2556). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม
ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตร
และการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปกร.
โรงเรียนบัวขาว. (2558). รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) โรงเรียนบัวขาวปีการศึกษา
2558. กาฬสินธุ์: โรงเรียนบัวขาว.
. (2558). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบัวขาวภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558. กาฬสินธุ์: โรงเรียนบัวขาว.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). ความรู้สู่อนาคต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2552). พัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2558). การประมวลผลการประเมินภายนอกสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานระดับประเทศ. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
. (2558). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)
ปีการศึกษา (2558). กรุงเทพฯ: สานักทดสอบทางการศึกษา.
รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม. (2554-2558). ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบัวขาว ตาบลบัวขาว
อาเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย 2555. กรุงเทพฯ:
สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน).
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารยา ช่ออังชัญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมี
วิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.
(หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Joyce and Weil. (1996). Curriculum and Teachers Attitudes: The Impact of the Change Process In Special
Education. Dissertation Abstract International, December 60(4): 2314.
Joyce B. and Weil. (2009). M. Model of Teaching. 8th ed. Englewood Cliffs. New York: Prentice-Hall.
Kruse Kewin. (2011). Instruction to Instructional Design and the ADDIE Model.
[Online]. Assessed 21 March Available from
http://www.cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm/
Vygotsky, L. (2014). Problem of Method In Mind in Society. Cambridge. MA: Harvard University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว