การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารการเงินและบัญชี ฝ่ายการเงิน กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ดวงเดือน เภตรา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • นภัสษร ผลาเลิศ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • จุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • นุชศรา นันโท คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารการเงินและบัญชี, ฝ่ายการเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานการเงินและบัญชีของฝ่ายการเงิน กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารงานการเงิน และบัญชีของฝ่ายการเงิน กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ประชากร คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการฝ่ายการเงิน จำนวน 450 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน ได้จำนวน 210 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริการของฝ่ายการเงิน 4 ด้าน คือ ด้านการบริการ ด้านบุคลากร ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการ และด้านอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบไปด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ใช้การทดสอบแบบที ที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ผลวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการบริการงานการเงินและบัญชี กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มี ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพสูงที่สุด คือ ด้านอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การเปรียบเทียบความคิดเห็น เกี่ยวกับประสิทธิภาพบริการงานการเงินและบัญชี จำแนกตามเพศ พบว่าไม่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนก ตามสถานะ พบว่าแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 โดยเจ้าหน้าที่มีระดับความคิดเห็นสูงกว่าอาจารย์ทั้งความคิดเห็น โดยรวมและรายด้าน การเปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามอายุ พบว่าไม่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบจำแนกตามระดับ การศึกษา พบว่าโดยรวมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกันทุกด้านที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ .01

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7) แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.

พยอม วงศ์สารศรี. (2542). องค์การและจัดการ. กรุงเทพฯ: พรานนกการพิมพ์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร ์(พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาเตชินท์ สิทฺธาภิภู (ผากา). (2554). ประสิทธิผลการให้บริการของเทศบาลตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มยุรี บุญเยี่ยม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพสังขะ. วิทยาลัยการอาชีพ สังขะ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. (2560). เกี่ยวกับ มรภ.รอ.(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 25560, จาก : https://www.reru.ac.th/index.php/prawat-reru

วิรินทร์ญา ทวีอนันต์ธนกุล. (2557). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังท้องถิ่นของเทศบาลในจังหวัดนครสวรรค์. รายงานผลการศึกษา. วิทยาลัยการอาชีพสังขะ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏ สวนสุนันทา.

เอกราช ปลอดโปร่ง. (2557). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01

How to Cite

เภตรา ด., ผลาเลิศ น., ภักดีวุฒิ จ., & นันโท น. (2018). การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารการเงินและบัญชี ฝ่ายการเงิน กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 129–140. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/164836