การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

ผู้แต่ง

  • ทัตวรรณ ไชยพรม สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • บุญมี ก่อบุญ สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การควบคุมภายใน, การพัฒนารูปแบบ, การตรวจสอบความเหมาะสม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมภายใน, ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ และสร้างคู่มือการใช้รูปแบบการดำเนินงานควบคุมภายใน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบ 2) การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนชนิดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเท่ากับ 0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.46 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน และหัวหน้างานควบคุมภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 200 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 3) การสร้างคู่มือการใช้ รูปแบบการดำเนินงานควบคุมภายใน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินงานควบคุมภายในของโรงเรียนมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การประชุมวางแผน การดำเนินงานควบคุมภายใน 2) การออกแบบระบบควบคุมภายใน 3) การใช้ระบบควบคุมภายใน และ 4) การประเมินผล และจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่ามีความเหมาะสมในภาพรวมที่ระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{X}) = 4.65 ผลการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบการดำเนินงานควบคุมภายใน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) รายละเอียดของรูปแบบ 4) วิธีการใช้รูปแบบ

References

จิดาภา ศรีสงคราม. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการดำเนินงานระบบควบคุมภายในโรงเรียนนาแก้วพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชมาภรณ์ ศรีสุข. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบควบคุมภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นฤมล หลักคำ. (2554). การบริหารการควบคุมภายในด้านงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. . (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มาลีรัตน์ บุญอนันตบุตร. (2549). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้จริยธรรมแบบ MCCP สำหรับเด็กปฐมวัย. ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีระยุทธ งามล้วน. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดระบบควบคุมภายในตามมาตรฐานคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2552). แนวทาง : การจัดวางระบบควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (2554). คู่มือการจัดทำรายงานการควบคุมภายในตามระเบียบ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544. สกลนคร: สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการดำเนินงานการควบคุมภายในเพื่อการพัฒนา การศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

โสวรรณี แหล่งหล้า. (2553). การพัฒนาระบบการควบคุมภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01

How to Cite

ไชยพรม ท., เพ็งสวัสดิ์ ว., & ก่อบุญ บ. (2018). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 107–117. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/164824