ประสิทธิผลของข้อมูลการบัญชีบริหารที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรทางธุรกิจ
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, ข้อมูลการบัญชีบริหาร, ความสามารถในการทำกำไรบทคัดย่อ
ในยุคปัจจุบันเรียกได้ว่า เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เกิดการค้าที่เสรีและไร้พรมแดน ทำให้สภาวะการแข่งขันทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น องค์กรจึงต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อรองรับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น จึงมีการคิดค้น เครื่องมือหรือกลยุทธ์เพื่อให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไร ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่างรวมกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้นั่น คือ ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชี โดยเฉพาะข้อมูลการบัญชีบริหาร งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของข้อมูลการบัญชีบริหารที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไร 2) ศึกษาแนวโน้ม การใช้ข้อมูลการบัญชีบริหาร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) จำนวน 122 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีเพื่อการตัดสินใจ และการวิเคราะห์รายจ่ายลงทุนส่งผลต่ออัตรา กำไรขั้นต้น 2) แนวคิดและการจัดประเภทต้นทุนและการวิเคราะห์รายจ่ายลงทุนส่งผลต่ออัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี 3) การบัญชีตามความรับผิดชอบและการกำหนดราคาโอน การวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีเพื่อการตัดสินใจ และการวิเคราะห์รายจ่าย ลงทุนส่งผลต่ออัตรากำไรสุทธิ 4) แนวโน้มการใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารในอนาคตมากที่สุดคือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ
References
จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2553). วิวัฒนาการของการบัญชีบริหารสู่การเปลี่ยนแปลงในมุมมองสำหรับผู้บริหาร. วารสารวิชาชีพ บัญชี, 6(17), 90-97.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2559). ข้อมูลบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.set.or.th/th/company/companylist.html
เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2557). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1898).
ปัญจพร ศรีชนาพันธ์. (2555). รูปแบบความเป็นผู้นำ ระบบการบัญชีบริการและการดำเนินงานการบริหารจัดการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(1), 37-48.
วรรณวิมล ศรีหิรัญ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชีของผู้บริหารในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย. โครงการวิจัย คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2557). กลยุทธ์การบริหารต้นทุนในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารนักบริหาร, 34(1), 60-68.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2557). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.
Cronbach, Lee J. (1946). Response sets and test validating. Educational and Psychological Measurement, 6(4), 475-494.
Don Hofstrand. (2009). Understanding Profitability. (Online). Available : https://www.extension.iastate. edu/agdm/wholefarm/html/c3-24.html
Hilton, Ronald W. (2009). Managerial Accounting. New York: McGraw-Hill.
Libby, Theresa & John, Waterhouse H. (1996). Predicting change in management accounting Systems. Journal of Management Accounting Research, 8, 137-150.
Nunnally, Jum C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.
Wall, Friederike & Greiling, Dorothea. (2011). Accounting Information for Managerial Decision-Making in Shareholder Management Versus Stakeholder Management. Review of Managerial Science, 5(2), 91-135.
Taro, Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว