กลยุทธ์การจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิต ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พิชญาภา ชินคำ นักศึกษา สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • จุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การจูงใจ, บริษัทประกันชีวิต, พฤติกรรมการตัดสินใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การจูงใจของบริษัทประกันชีวิตที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิตจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของกลยุทธ์การจูงใจของบริษัทประกันชีวิตต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิตในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรคือตัวแทนประกันชีวิตในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยวิธีของ Taro Yamane ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 381 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงเปรียบเทียบใช้การทดสอบแบบทีที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t–test) การทดสอบแบบเอฟ (F–Test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) วิเคราะห์ผลกระทบและความสัมพันธ์ด้วยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) และการวิเคราะห์ผลกระทบโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression)

       ผลการวิจัยพบว่ากลยุทธ์การจูงใจของบริษัทประกันชีวิตประกอบไปด้วยกลยุทธ์การจูงใจ 3 ด้านคือ กลยุทธ์การจูงใจด้วยรางวัลตอบแทน กลยุทธ์การจูงใจด้วยลักษณะการทำงาน กลยุทธ์การจูงใจด้วยรูปแบบการจัดการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มากที่สุด คือ กลยุทธ์การจูงใจด้วยรูปแบบการทำงาน การเปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิตจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ตัวแทนประกันชีวิตที่มี เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา ลักษณะการประกอบอาชีพประกันชีวิตและการสังกัดบริษัทประกันชีวิตต่างกัน มีพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตแตกต่างกัน การศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของกลยุทธ์การจูงใจของบริษัทประกันชีวิตต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิต พบว่า กลยุทธ์การจูงใจของบริษัทประกันชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิตเขตจังหวัดร้อยเอ็ดในระดับสูง เมื่อพิจารณาผลกระทบของกลยุทธ์การจูงใจของบริษัทประกันชีวิตต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิตในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดพบว่า กลยุทธ์การจูงใจทั้ง 3 ด้าน ส่งผลกระทบทางบวกต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิต โดยกลยุทธ์การจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตมากที่สุด คือ กลยุทธ์การจูงใจด้วยรางวัลตอบแทน บริษัทประกันชีวิตจึงควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการให้รางวัลตอบแทนแก่ตัวแทนประกันชีวิตให้ตรงความต้องการของตัวแทนประกันชีวิตมากยิ่งขึ้น

References

ฉัตรยาพร เสมอใจ และมัทนียา สมมิ. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.

ชูชัย สมิทธิไกร (2556). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ ศรีเกรียงทอง และคณะ. (2558). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการสร้างประสิทธิผลในงานขายของพนักงานที่ปรึกษางานขาย (PC) และพนักงานที่ปรึกษาความงาม (BA) ของบริษัทโมเดิร์นคาสอินเตอร์เนชั่นเนลคอสเมติกส์ จำกัด. วารสาร Veridian, 8(2), 1-3.

ธนัท สุขวัฒนาวิทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในงานแสดงสินค้าของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7) แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.

พิชญา วัฒนรังสรรค์ (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาวย่าน สยามสแควร์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีรฟิลม์และไซเท็กซ์

ศุภรัตน์ ถนอมแก้ว. (2559). กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจในแต่ละช่วงวัยของพนักงานในองค์การ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 1-16.

สมาคมประกันชีวิตไทย. (2559). สถานการณ์กับช่องทางการขายประกันชีวิต. วารสารประกันชีวิต, 36(153), 53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01

How to Cite

ชินคำ พ., & ภักดีวุฒิ จ. (2018). กลยุทธ์การจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิต ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 11–22. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/164776