วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร กรณีศึกษา ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันในประเทศไทย
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์, ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันในประเทศไทย, ความสำเร็จขององค์กรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์กับผลกระทบ และการเปรียบเทียบระดับวัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จขององค์กรของผู้แทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันในประเทศไทย ประชากร คือ ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันใน ประเทศไทย กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยวิธีของ W.G Cochran ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 144 หน่วยงาน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงเปรียบเทียบ ใช้การทดสอบแบบทีที่เป็นอิสระต่อการทดสอบแบบเอฟ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ผลกระทบ และความสัมพันธ์ด้วยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ของผู้แทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันในประเทศไทยประกอบไปด้วย วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ 4 แบบ คือ วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์แบบเครือญาติ วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์แบบปรับตัว วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์แบบราชการ วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์แบบมุ่งผลสำเร็จ โดยรวมอยู่ในระดับมาก แบบที่มาก ที่สุด คือ วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์แบบมุ่งผลสำเร็จ การเปรียบเทียบพบว่า ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันในประเทศไทย ที่มีทุนจดทะเบียน จำนวนปีที่เปิดทำการ เขตที่ตั้งของหน่วยงานต่างกัน มีความสำเร็จขององค์กรแตกต่างกัน ความสัมพันธ์ และผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ต่อความสำเร็จขององค์กรพบว่า วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ มีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กร โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูง เมื่อพิจารณาผลกระทบพบว่า วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ แบบปรับตัว ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความสำเร็จขององค์กรมากที่สุด ส่วนวัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์แบบมุ่งสู่ความสำเร็จ ไม่พบความสัมพันธ์กับความสำเร็จขององค์กร ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ควรจะศึกษาในรายละเอียดต่อไป
References
ทิพย์ธิดา จินตานนท์. (2554). การริเริ่มด้วยตนเอง ความร่วมมือร่วมใจ ลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพและการรับรู้วัฒนธรรม องค์การของผู้บริหารระดับกลางในบริษัทโซเด็กโซ่ เฮ็ลธแคร์ ซัพพอร์ท เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัทโซเด็กโซ่ ซัพพอร์ท เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธานี นาคเกิด. (2555). การพัฒนาระบบการวัดผลการดำเนินงานด้วยหลักการวัดผลเชิงดุลยภาพ กรณีศึกษา โรงงาน ฉีดพลาสติก. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.
นภดล ร่มโพธิ์ และคณะ. (2555). เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นาฎพิมล คุณเผือก. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน มัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุทธยา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ผลิน ภู่เจริญ. (2560). วัฒนธรรมองค์การกับการจัดการเชิงกลยุทธ์. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559, จาก https://info.muslimthaipost.com/main/index
ประพัฒน์ เชยชม. (2559). นิสสันเสริมทัพ รองรับวิสัยทัศน์ปี 2022. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559, จาก https://www.nissan.co.th/news/new-advisor-of-asia
มัณฑนา อ่อนน้อม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความสุขในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
พีรพล คุณแรง. (2558). การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานแบบดุลยภาพ (BSC) ของธุรกิจรถยนต์มือสองในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารธุรกิจ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รุ่งนภา ปฐมชัยอัมพร. (2556). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองคกรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน ตามแนวคิด (BSC). วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณกร รอบคอบ. (2560). วัฒนธรรมองค์การ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก https://sites.google.com/site/darunsitpattanarangsan/sara-na-ru
วชิระ พิมลเสถียร. (2554). การศึกษาวัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา บริษัทประกอบรถยนต์ แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารธุรกิจ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิไลพร กิตติสุขสันต์. (2555). การพัฒนาระบบการวัดผลการปฏิบัติงาน โดยอาศัยการวัดผลดุลยภาพ (BSC) กรณีศึกษา บริษัท สุขสันต์พลาสติก จำกัด (ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับบรรจุน้ำดื่ม). วิทยานิพนธ์ สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ศิริรัตน์ ศรีไชย. (2558). รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรและปัจจัยแวดล้อมในงานที่ส่งผลต่อความพอใจในการทำงานของพนักงาน ในองค์กร กลุ่มบริษัทรักษาความปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2559). หลักการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 2) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: นาศิลป์ โฆษณา.
อนุพงษ์ อินฟ้าแสง. (2558). วัฒนธรรมองค์การ : ปัจจัยสู่ความสำเร็จ. เอกสารประกอบการสอนวิชาพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธนบุรี.
Braun, Eduardo P. (2016). People First Leadership. New York: Mcgraw Hill Education.
Kaplan, R.S., & Norton, D.P. (2001). The Strategy-Focused Organization: How Balanced Scorecard Companies Thrive in the New Business Environment. Boston, MA: Harvard Business School Press.
Richard L. Daft. (2004). Organization Theory and Design. 8th ed. Australia, Thomson: South-Westem.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว