ผ้าทอผู้ไทบ้านละหาน้ำ: ภูมิปัญญาทางภาษาและมิติทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ต่อศักดิ์ เกษมสุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • กันยารัตน์ มะแสงสม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • นิโลบล ภู่ระย้า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ผ้าทอผู้ไทบ้านละหาน้ำ, ภูมิปัญญาทางภาษา, มิติทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาทางภาษาและมิติทางวัฒนธรรมของชื่อลวดลายผ้าทอชาวผู้ไท
บ้านละหาน้ำ เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนามและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยภูมิปัญญาทางภาษาพบว่า ชาวผู้ไทบ้านละหาน้ำมีการสืบทอด
ภูมิปัญญาผ้าทอมาจนถึงปัจจุบัน การสร้างลวดลายผ้าทอส่วนใหญ่ใช้วิธีการมัดหมี่ ซึ่งลวดลายผ้าทอที่พบมีจำนวน 50 ลวดลาย และมีชื่อที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นภูมิปัญญาทางภาษาในการสร้างคำเรียกชื่อลวดลายจากสิ่งของและธรรมชาติรอบตัวมาประยุกต์ให้เกิดเป็นลวดลาย กลวิธีทางภาษาในการตั้งชื่อลวดลายส่วนใหญ่เป็นการประสมคำในรูปแบบ
คำหลัก+คำขยาย สะท้อนภูมิปัญญาในการใช้ภาษาเพื่อสื่อถึงลักษณะของลวดลาย การประกอบสร้างลวดลายหลักและลวดลายย่อยได้ ส่วนด้านมิติทางวัฒนธรรม พบว่า ชื่อลวดลายผ้าทอสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสิ่งของ กลุ่มสัตว์
กลุ่มพืช กลุ่มเรขาคณิต และกลุ่มสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่าในวัฒนธรรมของชาวผู้ไทบ้านละหาน้ำมีความผูกพันกับธรรมชาติและการตั้งชื่อลวดลายผ้าด้วยคำว่า “นาค” มากที่สุดสะท้อนความเชื่อเรื่องนาคซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏร่วมกันในประเทศลุ่มน้ำโขง

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาทางภาษาและมิติทางวัฒนธรรมของชื่อลวดลายผ้าทอชาวผู้ไท
บ้านละหาน้ำ เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนามและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยภูมิปัญญาทางภาษาพบว่า ชาวผู้ไทบ้านละหาน้ำมีการสืบทอด
ภูมิปัญญาผ้าทอมาจนถึงปัจจุบัน การสร้างลวดลายผ้าทอส่วนใหญ่ใช้วิธีการมัดหมี่ ซึ่งลวดลายผ้าทอที่พบมีจำนวน 50 ลวดลาย และมีชื่อที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นภูมิปัญญาทางภาษาในการสร้างคำเรียกชื่อลวดลายจากสิ่งของและธรรมชาติรอบตัวมาประยุกต์ให้เกิดเป็นลวดลาย กลวิธีทางภาษาในการตั้งชื่อลวดลายส่วนใหญ่เป็นการประสมคำในรูปแบบ
คำหลัก+คำขยาย สะท้อนภูมิปัญญาในการใช้ภาษาเพื่อสื่อถึงลักษณะของลวดลาย การประกอบสร้างลวดลายหลักและลวดลายย่อยได้ ส่วนด้านมิติทางวัฒนธรรม พบว่า ชื่อลวดลายผ้าทอสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสิ่งของ กลุ่มสัตว์
กลุ่มพืช กลุ่มเรขาคณิต และกลุ่มสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่าในวัฒนธรรมของชาวผู้ไทบ้านละหาน้ำมีความผูกพันกับธรรมชาติและการตั้งชื่อลวดลายผ้าด้วยคำว่า “นาค” มากที่สุดสะท้อนความเชื่อเรื่องนาคซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏร่วมกันในประเทศลุ่มน้ำโขง

References

จรัญ ชัยประทุม. (2556). ผ้าทอหลวงพระบาง: มิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 129-156.

ชนิดา ตั้งถาวรสิริกุล. (2541). สื่อสัญลักษณ์ผ้าลาวเวียงจันท์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ณรงค์ เจนใจ และกรกนก สนิทวงศ์. (2565). เอกลักษณ์ลวดลายผ้าทอบ้านวังผาและบ้านวังศิลา ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(3), 110-122.

นิตยา ฉัตรเมืองปัก. (2555). การศึกษาวิเคราะห์ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พิจิตรา พาณิชย์กุล. (2547). การศึกษาชื่อและระบบการทอซิ่นมัดหมี่ดั้งเดิมของคนไทพวนอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิษณุ เข็มพิลา และกฤษฎา ศรีธรรมา. (2550). การศึกษาลวดลายผ้าห่อคัมภีร์ใบลานอีสาน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ยศกร สิทธิศักดิ์ไพบูลย์. (2553). การศึกษาชื่อลายแพรวาในภาษาผู้ไทยตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 126-133.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3 : ชนิดของคำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

วิรินชุอร พิมสาร. (2559). การออกแบบลายผ้าจากผ้าทอเมืองน่าน. ภาคนิพนธ์ ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2549). กว่าจะเป็นนักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กัณฑิมา รักวงษ์วาน, มนสิการ เฮงสุวรรณ และสิริวิมล ศุกรศร. (2555). บุคคลสำคัญและความคิดหลักในอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์: การเข้าถึงวัฒนธรรมโดยผ่านภาษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

เกษมสุข ต., มะแสงสม ก., & ภู่ระย้า น. (2024). ผ้าทอผู้ไทบ้านละหาน้ำ: ภูมิปัญญาทางภาษาและมิติทางวัฒนธรรม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 18(2), 97–108. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/275413