การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
คำสำคัญ:
สมรรถนะการปฏิบัติงาน, การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน, The competency, The Development of Training Curriculum, The Administrative officer schoolบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์หาประเด็นในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนซึ่งปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 25 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก และตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม ใช้วิธีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มี 4 องค์ประกอบ หลัก คือ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหา 3) กิจกรรมการฝึกอบรม และ 4) การวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่าองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม มีความสอดคล้องกันทุกประเด็น
References
จักรกฤษณ์ สนอ่อง. (2555). คู่มือการปฏิบัติธุรการ (ปรับปรุง พ.ศ. 2555). พิษณุโลก: สำนักงานสภามหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุรินทร์ มิลินทสูต. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพสถานศึกษา โดยต้นสังกัด ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ตรัยคุณ รอตเกษม. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะผ่านระบบออนไลน์ สำหรับนักพัฒนาหลักสูตรสถาบันฝึกอบรมในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ถาดทอง ปานศุภวัชร. (2550). เอกสารคำสอน หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บัณฑิต ตั้งประเสริฐ. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ บริหารการศึกษา มศว, 5(10), 51.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2553). เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: ดวงกลมพับลิซชิง.
พิสณุ ฟองศรี. (2549). การประเมินทางการศึกษา:แนวคิดสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วัลลภ พัฒนพงศ์. (2554). การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมนักพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะอาชีพ. ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุกัลยา จันทร์จินดา. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ สำหรับพนักงานปฏิบัติการสถานประกอบการ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2555-2558. บึงกาฬ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.
สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติกร. (2552). คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรงานธุรการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ริมปิงการพิมพ์.
สมชาย สังข์สี. (2550). หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน ในสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Kerr, J. F. (1989). Changing the a Curriculum. London: University of London Press.
Nicholls, A. (1978). Developing a Curriculum. London: Cox and Wyman.
Saylor & Alexander (1981). Curriculum Planning for Better Teacher and Learning (4th ed). New York: Holt Rinehart and Winston.
Taba, H. (1962). CurriculumDevelopment: Theory and Practice. New York: Brace and World.
Tyler, R. W. (1989). Basic principle of curriculum an instruction. Chicago: University of Chicago Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว