การพัฒนายุทธศาสตร์ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานีเพื่อสร้างความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน

ผู้แต่ง

  • ศราวุธ ผิวแดง นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เสรี วงษ์มณฑา รองศาสตราจารย์ ดร. ประธานที่ปรึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชวลีย์ ณ ถลาง รองศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สืบชาติ อันทะไชย รองศาสตราจารย์ ดร.สืบชาติ อันทะไชยอาจารย์ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ธุรกิจท่องเที่ยว, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ยุทธศาสตร์ธุรกิจท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานีเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ถามความคิดเห็นด้านการตลาดท่องเที่ยวเพื่อนำไปจัดทำแนวทางและพัฒนายุทธศาสตร์ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า การตลาดท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี มี 10 องค์ประกอบ 61 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ช่องทางการจัดจำหน่าย 2) คน 3) ผลิตภัณฑ์ 4) การส่งเสริมการตลาด 5) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 6) ความร่วมมือทางธุรกิจ 7) นโยบายสาธารณะ 8) การจัดรวมผลิตภัณฑ์ 9) ราคา 10) ฤดูกาลการท่องเที่ยว ซึ่งความแปรปรวนขององค์ประกอบทั้งหมด สามารถอธิบายตัวบ่งชี้ได้ร้อยละ 51.32 จังหวัดอุดรธานี ภาคเอกชน ภาครัฐ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์หรือแผนเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวได้ สถานศึกษาสามารถนำผลวิจัยไปใช้ในการต่อยอดงานวิจัยหรือใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

References

กุญช์ภัสส์ พงษ์พานิชย์. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน นักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 1-12.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2554). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. ภาควิชาศิลปาชีพ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทวีเกียรติ ประพฤทธิ์ตระกูล. (2554). ตัวแบบการจัดการองค์การเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(129), 24-40.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

รัฐพล สันสน และเยาวภา ปฐมศิริกุล. (2558). กลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างประเทศไทยในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการ, 32(1), 91-121.

สำนักงานจังหวัดอุดรธานี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี (2561-2564). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2561, จาก https://www.udonthani.go.th /2014/download/ datacenter/ Development_ Plan61-64 (Recover61).pdf

อัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2560). ความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12 (ฉบับพิเศษ), 13-26.

Gummesson, E. (1997). Relationship marketing as a paradigm shift: some conclusions from the 30R approach. Management Science, 35(4), 267-272.

Yamane, T. (1973). Statistics, An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29

How to Cite

ผิวแดง ศ., วงษ์มณฑา เ., ณ ถลาง ช., & อันทะไชย ส. (2019). การพัฒนายุทธศาสตร์ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานีเพื่อสร้างความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(1), 195–205. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/186045