คุณลักษณะการรู้ด้านการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนมัธยมตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ถีระสา คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อัจฉริยา พรมท้าว อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อาทิตย์ อาจหาญ อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, การรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบวัดคุณลักษณะ จำนวน 36 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน คุณลักษณะการรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ได้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ด้านการรับผิดชอบต่อตนเอง ด้านการเคารพกฎหมาย กติกาของสังคม ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้านการเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ด้านการประพฤติปฏิบัติตน 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) พบว่า โมเดลการวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2) เท่ากับ 643.997 df เท่ากับ 359 p เท่ากับ 0.050 TLI เท่ากับ 0.9 SRMR เท่ากับ 0.05 RMSEA เท่ากับ 0.045 และค่า 2 /df เท่ากับ 1.793 และ ค่า R2 เท่ากับ 0.7122 พิจารณาค่าน้ำหนักทั้ง 6 องค์ประกอบ 29 ตัวแปร พบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยจัดเรียงตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ องค์ประกอบด้านการเคารพกฎหมาย กติกาของสังคม องค์ประกอบด้านการประพฤติปฏิบัติตน องค์ประกอบด้านการรับผิดชอบต่อตนเอง องค์ประกอบด้านความรับผิดชอบ ต่อส่วนรวม องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมกับการเมือง และองค์ประกอบด้านการเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ตามลำดับ องค์ประกอบด้านการเคารพกฎหมาย กติกาของสังคม มีน้ำหนักมากที่สุด ขณะที่องค์ประกอบด้านการเคารพสิทธิเสรีภาพ ของผู้อื่นมีต่อคุณลักษณะการรู้ด้านการเป็นพลเมืองดีน้อยที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

คณะอนุกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้านพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดี. (2553). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. 2553-2561. กรุงเทพฯ.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 13. 22 - 24 มีนาคม 2555.
ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทรงสิริ วิชิรานนท์. (2556). คุณลักษณะพลเมืองดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมลคลพระนคร.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน : การวิจัยปฏิบัติการของครู จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส เกษียณอายุ ราชการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วสันต์ พรพุทธิพงศ์ และคณะ. (2558). การรับรู้หน้าที่พลเมืองดีของเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 1331-1339.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-18

How to Cite

ถีระสา อ., พรมท้าว อ., & อาจหาญ อ. (2019). คุณลักษณะการรู้ด้านการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนมัธยมตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(3), 46–54. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/184389