การพัฒนาแนวทางการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

ผู้แต่ง

  • ธันยวัตร แก้วสุข
  • สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ

คำสำคัญ:

แนวทาง, ปัญหายาเสพติด, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

  การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ้งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29       2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาผู้ให้ข้อมูลจํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัดการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการดําเนินงานปัองกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสานศึกษาจํานวน 81 คน และครูผู้สอน(ครูปฏิบัติงานด้านยาเสพติด) จํานวน 369 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามจํานวนที่ได้จากการเปรียบเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกรน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดําเนินงานป้องกันแลแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาผู้ให้ข้อมูลจํานวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

   1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 45 ตัวชี้วัดโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

   2. สภาพปัจจุบันของการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลําดับแรก คือ ด้านการเฝ้าระวัง ด้านการบริหารจัดการ และด้านการรณรงค์ป้องกันยาเสพติด ส่วนสภาพที่พึง ประสงค์การดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  3 ลําดับแรก คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้านการให้ คําปรึกษาและด้านการเฝ้าระวัง

  3. แนวทางการดําเนินงานป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 มีแนวทางการพัฒนาการดําเนินงาน 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด จํานวน 8 ข้อ 2) ด้านการให้คําปรึกษา จํานวน 4 ข้อ  3) ด้านการให้การศึกษาและเผยแพร่ความรู้ จํานวน 7 ข้อ  4) ด้านเฝ้าระวัง จํานวน 7 ข้อ  5) ด้านการบริหารจัดการ จํานวน 5 ข้อ และ  6) ด้านการรณรงค์ป้องกันยาเสพติด จํานวน 6 ข้อ

References

กระทรวงศึกษาธิการ . (2557). แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พุทธศักราช 2557. กรุงเทพฯ : สํานักนโยบาย และยุทธศาสตร์. กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉัตรชัย อันบํารุง. (2556). การจัดระบบการป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียนบ้านแม่คะ อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. (บริหารการศึกษา). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นาวี สกุลวงศ์ธนา และคณะ. (2556). แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดสําหรับเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน : ภูมิคุ้มกันเพื่อโลกสีขาว. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ปิยะชาติ ขานทะราชา. (2552). การพัฒนาการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. (บริหารการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัมหาสารคาม.

พะยอม ใจสะอาด. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาการดําเนินงานและแนวทางการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (บริหารการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภิญโญ เอี่ยมอุไร. (2554). การศึกษาการดาํเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจนัทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (บริหารการศึกษา). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ รําไพพรรณี.

วิมลศิริ บุญโญปกรณ์. (2557). การดําเนินงานตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสถานศึกษาสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชวีศึกษาในกรุงเทพมหานครไปสู่การปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (บริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามธัยมศึกษาเขต 29. (2556). รายงานผลการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัด สพม. 29. อุบลราชธานี : สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29.

สํานักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2553). การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด.

สํานักงานพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. (2542). บทคัดย่องานวิจัยยาเสพติด ปี/ส่วนวิจัยและพัฒนาวิชาการ. กรุงเทพฯ : ส่วนวิจัยและพัฒนาวิชาการสํานักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด.

สุชาติ แป้นเมือง. (2543) . การศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนนักศึกษาที่ใช้ยาบ้าและนักเรียนนักศึกษาที่ไม่ใช้ยาบ้า. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31

How to Cite

แก้วสุข ธ., & หกสุวรรณ ส. (2016). การพัฒนาแนวทางการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 10(2), 107–116. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/176392