การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย

ผู้แต่ง

  • ณัฐารัชต์ เดโชสวัสดิ์เพชร

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอน, การสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย 2) ศึกษาผลการใช้
รูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม
สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และ
การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอน มีชื่อว่า SCPEE Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์
เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน ระบบสนับสนุน ขั้นตอนการสอน การประเมินผล และผลการนำไปใช้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของ
นักเรียนมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 86.49 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
รูปแบบการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.52, S.D. = 0.53)

References

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ ลักขณาอดิสร. (2550). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานกับการสร้างเด็กเก่ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559): ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิค.

. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2575. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อรชร ภูบุญเติม. (2550). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์สมการ ของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการใช้ตัวแทน (Representation). สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการมัธยมศึกษา.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Caine, G., and R.N., Caine. (1989). Learning about Accelerated Learning. Training and Development Journal,
May: 65 - 73.

Jensen, Eric. (2000). Brain-Based Learning. San Diego: The Brain Store Publishing.

National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Principles and Standards for School Mathematics.
Reston, Va: NCTM.

Polya, George. (1973). How to Solve It. New Jenney: Princeton University Press.

. (1980). On solving Mathematical Problem in High School. Problem Solving in School Mathematics.
1980 Textbook. Virginia: The National Council of Teacher of Mathematics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-31

How to Cite

เดโชสวัสดิ์เพชร ณ. (2017). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง เงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12, 165–173. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/176321