Accounting Competency According to the KUSA Model affecting Accounting Performance Efficiency of Community Hospital Staffs in Health Area 7

Authors

  • Kasinee Usaphom Faculty of Business Administration and Accountancy, Roi Et Rajabhat University
  • Garoon Pongsart Faculty of Business Administration and Accountancy, Roi Et Rajabhat University
  • Pattariya Promrat Faculty of Business Administration and Accountancy

Keywords:

Account performance according to KUSA models, Accounting performance, Community hospital

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะด้านบัญชีตามรูปแบบ KUSA ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชน ในเขตสุขภาพที่ 7 2) ศึกษาประสิทธิภาพการทำงานด้านบัญชีของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านบัญชีของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7 จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งงานและสถานภาพงาน 4) ทดสอบอิทธิพลของสมรรถนะ ด้านบัญชีตามรูปแบบ KUSA ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบัญชีของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบัญชีโรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบัญชีของโรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะด้านบัญชีตามรูปแบบ KUSA โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบัญชีของโรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานด้านบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบัญชีของโรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7 ที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบัญชี โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน ส่วนอายุและตำแหน่งงาน ที่ทำต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานด้านบัญชีโดยรวมไม่แตกต่างกัน 4) สมรรถนะด้านบัญชีตามรูปแบบ KUSA ด้านความรู้ และด้านทักษะส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบัญชีของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนสมรรถนะด้านบัญชีตามรูปแบบ KUSA ด้านทัศนคติ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบัญชีของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กานดา แซ่หลิ่ว. (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์. (2558). สมรรถนะของพนักงานบัญชีในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีตามทัศนะของหัวหน้างานบัญชี. บทความ คณะบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.

บุญช่วง ศรีธรราษฎร์ (2561). ผลกระทบของความชำนาญในวิชาชีพบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีบริษัทกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 13(2), 103-124.

พิสมัย พวงคำ. (2551). สมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วรรณภา อิมะไชย์. (2557). ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักบัญชีของผู้ประกอบการ SME ในเขตกรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7. (2562). สรุปตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อ 15–16 สิงหาคม 2562, จาก www.healtharea.net

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7. (2561). สรุปตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2561. สืบค้นเมื่อ 25-26 กรกฎาคม 2561, จาก www.healtharea.net

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7. (2560). สรุปตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2561. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2560, จาก www.healtharea.net

สุภาพร แจ่มศรี. ( 2554). ผลกระทบของการเรียนรู้ทางการบัญชีอย่างต่อเนื่องที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี

ในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สมคิด บางโม. (2553). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยาพัฒน์.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2549). การบริหาร. กรุงเทพฯ: นกการพิมพ์.

สุพัตรา รักษาศิลป์ และคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี

ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. บุรีรัมย์: มหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักร สายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Nunnally, J.C. and Bermstein, I.H. (1994). The Assessment of Reliability. Psychometric Theory, 3, 248-292.

Cepeda, G. and Vera, D. (2007). Dynamic Capabilities and Operational Capabilities: A Knowledge Management Perspective. Journal of Business Research, 60(5), 426-437.

Downloads

Published

2021-04-28

How to Cite

Usaphom, K., Pongsart, G. . ., & Promrat, . P. . . (2021). Accounting Competency According to the KUSA Model affecting Accounting Performance Efficiency of Community Hospital Staffs in Health Area 7 . Journal of Roi Et Rajabhat University, 15(1), 174–187. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/242193

Issue

Section

Research Articles