Factors Affecting Reading Habit of Grade 4-6 Students in Schools of Integrated Educational Developing Management Network, Wang Hin 1 under Sisaket Primary Educational Services Area Office 1

Factors Affecting Reading Habit of Prathom 4-6 Students of Wang Hin Integrated Educational Developing Management School Network under The Sisaket Primary Educational services Area Office 1

Authors

  • Supranee Saichuay Sisaket Rajabhat University
  • Pakornchai Suphat Sisaket Rajabhat University
  • Methee Wisaprom Sisaket Rajabhat University
  • Jittimaporn Sihawong Sisaket Rajabhat University

Keywords:

Reading Habit, Factors, Mixed Method Research

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่าน 2) เพื่อศึกษาสภาพของปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 362 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และพรรณนาผลการค้นพบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ เจตคติต่อการอ่าน สภาพแวดล้อมการอ่านที่บ้าน และลักษณะทางกายภาพของห้องสมุดและห้องเรียน สามารถอธิบายความแปรปรวนนิสัยรักการอ่าน ได้ร้อยละ 40.5 ("R" ^"2" =0.405) และ 2) สภาพของปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่าน มีดังนี้ เจตคติต่อการอ่าน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การสนับสนุนการอ่านของผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมการอ่านที่บ้าน การสนับสนุนการอ่านของครู ลักษณะทางกายภาพของห้องสมุด และห้องเรียน และความพร้อมด้านสื่อ เทคโนโลยี โดยสรุป พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีความสอดคล้องตรงกันทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ เจตคติต่อการอ่าน สภาพแวดล้อม การอ่านที่บ้าน และลักษณะทางกายภาพของห้องสมุดและห้องเรียน

References

กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). แผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย พ.ศ. 2560–2564.

จักรพันธ์ หลงสุข. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการอ่าน ปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมการอ่านและแนวทางในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 12(2), 154-160.

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านให้เด็กได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.

ถาวร บุปผาวงษ์. (2546). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (2560). สื่อกับการพัฒนาเด็ก สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2562, จาก https://humaneco.stou.ac.th/UploadedFile/72202-14.pdf

ปราณี รัตนัง. (2541). ตัวแปรคัดสรรที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ยุทธ ไกรวรรณ์. (2557). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลำไย มากเจริญ. (2556). พฤติกรรมรักการอ่านของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการศรีปทุม, 11(1), 30.

วรรดี นกเกษม. (2556). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมิน. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สันติกา ดวงจิต. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.). (2557). รักการอ่าน ฐานสังคมเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สหมิตร พริ้นติ้ง.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือการดำเนินงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ..

อาทิตยา เผ่าพงษ์คล้าย. (2553). นิสัยรักการอ่าน สภาพแวดล้อมทางการอ่านที่โรงเรียนและที่บ้านของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Austin, M. and Casselden, B. (2010). A Server into the Reading Attitudes and Personal Reading Habits of Year 2 Children. The school Librarian, 58(3), 133-135.

Bano, J., Jabeen, J.and Qutoshi, S. B.. (2018). Journal of Education and Educational Development, 5(1), 42-59. Retrieved from https://journals.iobmresearch.com/index.php/JEED/index

Majid, S. and Venus, T. (2007). Understanding the Reading Habits of Children in Singapore. Journal of Education Media & Library Science, 45(2), 187-189.

Downloads

Published

2020-04-27

How to Cite

Saichuay, S. ., Suphat, P. ., Wisaprom, M. ., & Sihawong, J. . (2020). Factors Affecting Reading Habit of Grade 4-6 Students in Schools of Integrated Educational Developing Management Network, Wang Hin 1 under Sisaket Primary Educational Services Area Office 1: Factors Affecting Reading Habit of Prathom 4-6 Students of Wang Hin Integrated Educational Developing Management School Network under The Sisaket Primary Educational services Area Office 1. Journal of Roi Et Rajabhat University, 14(1), 221–232. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/204072

Issue

Section

Research Articles