ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

Authors

  • วิเชียร กันหาจันทร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ยุวธิดา ชาปัญญา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ธันยาภรณ์ นวลสิงห์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Keywords:

ภาวะผู้นำเชิงวิชาการ, ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู, คุณภาพผู้เรียน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู 2) เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียน และ 3) เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู กับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 342 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับมากที่สุด คือ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก คือ การจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการชั้นเรียน การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมและ เทคโนโลยี และการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ 2. คุณภาพผู้เรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และอยู่ในระดับมากที่สุด คือ สุขภาพกายและจิตใจที่ดี ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก คือ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการคิดเป็นทำเป็น ตามลำดับ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการ ของครูกับคุณภาพผู้เรียน พบว่าภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนและการใช้ และพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง กับคุณภาพผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านอื่น ๆ มีความสัมพันธ์ทางบวก ระดับปานกลางกับคุณภาพผู้เรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญญ์รัชการย์ นิลวรรณ. (2553). องค์ประกอบภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การจัดการสถานศึกษา สังกัดสานักการศึกษากรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

จินตนา ศรีสารคาม. (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุฑามาศ อินนามเพ็ง. (2552). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและครูผู้สอนที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชฎากาญจน์ เจริญชนม์. (2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่มีผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิสณุ ฟองศรี. (2551). วิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์.

ภัคพร บุญเคล้า. (2555). ยุทธวิธีการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ในเขตตรวจราชการที่ 13. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555). ประเทศไทยและโลกใบนี้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). สมุทรปราการ: ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.

สุดามาส ศรีนอก. (2557). ปัจจัยสมรรถนะครูและทักษะชีวิตของนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อมรรัตน์ เชิงหอม. (2553). สภาพปัญหาการพัฒนาคุณภาพนักเรียนในอำเภอท่าอุเทน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.

Downloads

Published

2018-06-01

How to Cite

กันหาจันทร์ ว., ชาปัญญา ย., & นวลสิงห์ ธ. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. Journal of Roi Et Rajabhat University, 12(1), 197–206. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/164905

Issue

Section

Research Articles