การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • เกสรี พงษ์สังข์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, ระบบ JHCIS, ระบบ Hosp U, ระบบ e-Claim, การบริหารจัดการด้านสาธารณสุข

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพในโรงพยาบาลช่วยปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยโดยรับรองความถูกต้อง ปลอดภัย และเข้าถึงบันทึกทางการแพทย์ได้ ช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดข้อผิดพลาด และปรับปรุงการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ส่งผลให้การตัดสินใจและผลลัพธ์ของผู้ป่วยดีขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในจังหวัดนนทบุรี และ (3) เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในจังหวัดนนทบุรี

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษานี้ใช้ วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) โดยรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 แห่ง ประกอบด้วย วิจัยเชิงปริมาณ ผ่านแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการ 400 คนจาก รพ.สต. ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด เพื่อประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ และ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาเอกสาร เช่น ยุทธศาสตร์ eHealth ของกระทรวงสาธารณสุข และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเชิงปริมาณ และ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงลึก โดยกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การแจกแบบสอบถามแก่ผู้ใช้บริการผ่าน รพ.สต. และนัดหมายสัมภาษณ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา เช่น ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อนำเสนอผลวิจัยในเชิงพรรณนาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การศึกษา

ผลการวิจัย: ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางในหลายด้านซึ่งมีค่าเฉลี่ย ดังนี้ ด้านโครงสร้างและแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ (3.43), ด้านเทคโนโลยี (3.43), ด้านบุคลากร (3.27), ด้านกระบวนการ (3.39), ด้านการควบคุม (3.37) และด้านการวัดผล (3.43) ข้อมูลสารสนเทศอยู่ในระดับปานมาก (3.55) การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารและบุคลากร 25 คน พบว่า ระบบ JHCIS              และแอปพลิเคชัน Smart OSM ช่วยจัดเก็บข้อมูลสุขภาพและติดตามผลสุขภาพผู้ป่วย แต่มีข้อจำกัดด้านบุคลากร ความซับซ้อนของระบบ และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ การขาดบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี ความซับซ้อนของระบบ การขาดงบประมาณ และการจัดการที่ไม่เป็นระบบ  ความไม่ชัดเจนของนโยบายที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบจาก JHCIS เป็น Hosp U ซึ่งเกิดปัญหาการถ่ายโอนข้อมูลและการขาดการฝึกอบรม การแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีนโยบายชัดเจน การพัฒนาบุคลากร  และสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น ระบบ e-Claim ถูกเสนอเป็นทางเลือกที่ช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการข้อมูลและเพิ่มความโปร่งใสในการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข

สรุปผล: ผลการศึกษาเน้นย้ำถึงประสิทธิภาพปานกลางของการจัดการไอทีด้านสุขภาพ โดยมีจุดแข็งในด้านคุณภาพของข้อมูล แต่มีความท้าทายในด้านบุคลากร ความซับซ้อนของระบบ และข้อจำกัดด้านทรัพยากร การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยนโยบายที่ชัดเจน การพัฒนาบุคลากร และโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพและการปรับปรุงการบริหารสาธารณสุข

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560–2569. นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

จักรพงษ์ ศรีราช. (2563). การพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานสาธรณสุขอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี.

ดอกแก้ว ตามเดช, & ณรงค์ ใจเที่ยง. (2565). การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1), 78–92

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560.ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอน 40 ก.

วิภาวรรณ เกษมสุขบท. (2563). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อพัฒนาสู่องค์การดิจิทัล. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วุฒินันท์ รัตนะ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 12(1), 315–323

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560–2569. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

อุไรวรรณ ตันฑอาริยะ, & ทินกร จุลแก้ว. (2559). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบฐานข้อมูลสาธารณสุขจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(2), 315–323.

Buntin, M. B., Burke, M. F., Hoaglin, M. C., & Blumenthal, D. (2017). The benefits of health information technology: A review of the recent literature shows predominantly positive results. Health Affairs, 30(3), 464-471. https://doi.org/10.1377/hlthaff.2011.0178

Glasgow, R.E., Phillips, S.M., & Sanchez. M.A. (2014). Implementation science approaches for integrating eHealth research into practice and policy. International Journal of Medical Informatics, 83(7), e1–e11.

Jung, K., Kim, J., & Bates, D. W. (2018). Effects of regionalization on the adoption of health information exchange. Journal of the American Medical Informatics Association, 25(2), 194-203. https://doi.org/10.1093/jamia/ocx080

Kijsanayotin, B., Kasitipradith, N., & Pannarunothai, S. (2019). eHealth in Thailand: The current status and future direction. International Journal of Medical Informatics, 125, 123-130. https://doi.org/10.1016/j.ijmedinf.2019.03.011

Kim, J., Lee, S. H., & Lee, J. H. (2020). A study on the application of multi-factor authentication in health information systems. Healthcare Informatics Research, 26(1), 24-31. https://doi.org/10.4258/hir.2020.26.1.24

Ministry of Public Health (MOPH). (2021). Thailand’s national digital health strategy 2021–2026. Ministry of Public Health, Thailand. Retrieved from https://www.moph.go.th/

Office of the Personal Data Protection Committee (PDPC). (2022). Thailand Personal Data Protection Act (PDPA) Implementation. Retrieved from https://www.pdpc.go.th/

Pongsupap, Y., Van Lerberghe, W. & Pannarunothai, S. (2020). The role of village health volunteers in the Thai primary health care system. Health Policy and Planning, 35(2), 227-239. https://doi.org/10.1093/heapol/czz080

Sarisky, J. (2011). Maine Connected Healthcare Community. In Health Information Technology and Public Health. National Center for Environmental Health Environmental Health Services Branch. St. Louis: United State.

Tangcharoensathien, V., Patcharanarumol, W. & Lertpimonchai, A. (2019). Strengthening health information systems to achieve universal health coverage: Lessons from Thailand. Bulletin of the World Health Organization, 97(5), 365-370. https://doi.org/10.2471/BLT.18.223545

World Health Organization (WHO). (2004). eHealth. EXECUTIVE BOARD, 115th Session. Provisional agenda item 4.13.

World Health Organization (WHO). (2010). Medical devices: Managing the mismatch outcome of the priority medical devices project. France: Design & Layout.

World Health Organization (WHO). (2022). Global strategy on digital health 2020–2025. Retrieved from https://www.who.int/publications/i/item/9789240020924

Zarif, A. (2022). The ethical challenges facing the widespread adoption of digital healthcare technology. Health and Technology Journal, 12, 175-179.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-27

How to Cite

พงษ์สังข์ เ. . (2025). การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดนนทบุรี. Journal for Developing the Social and Community, 12(1), 423–442. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/286484