ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ตะลุยไปในบริบทการคำนวณและการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • วรารัตน์ คชรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สิรินาถ จงกลกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน, การรู้เรื่องคณิตศาสตร์, สภาพการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: รายวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความซับซ้อน และท้าทายต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเป็นการใช้สถานการณ์หรือบริบทจากชีวิตจริงมาช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้กับสถานการณ์จริงได้ โดยจะเพิ่มความสามารถในรายวิชาคณิตศาสตร์

ด้านทักษะการคิด การแก้ปัญหา ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70

2) เปรียบเทียบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานก่อนและหลังเรียน

3) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน

ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ แบบสังเกตสภาพการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) สภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน พบว่า บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ กระตือรือร้น เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ

สรุปผล: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ซึ่งการออกแบบการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับการปฏิบัติได้ดี จะเห็นได้ว่านักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สะท้อนชีวิตจริงที่คุ้นเคยและมีความหมาย จึงทำให้ห้องเรียนเปรียบเหมือนกำลังใช้ชีวิตนอกห้องเรียน

References

กฤษณา สร้อยทพย์. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับ

กระบวนการโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กิติพงษ์ ลือนาม. (2564). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. โคราช มาร์เก็ตติ้ง.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตีรวิชช์ ทินประภา. (28 มีนาคม 2566). การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ทักษะที่

จำเป็นในศตวรรษที่ 21. https://www.scimath.org/article-mathematics/item/12794-

mathematical-literacy-21

พิมพิชา เอกพันธ์. (2563). การพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้นด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพิชา เอกพันธ์. (2563). การพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 117.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี. (2565). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี. (ม.ป.พ.).

วรินดา สุพา. (2563). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรือนรู้โดยบริบทเป็นฐาน

เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ที่ส่งเสริมการนำเสนอตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). รายงานผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET). https://www.niets.or.th/th/content/view/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). การประเมิน PISA 2018 การอ่าน

คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์. (ม.ป.พ.).

_____. (6 ธันวาคม 2566). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2022. https://pisathailand.ipst.ac.th/

news-21/

สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สมฤทัย ทองบุญนุ่ม. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะบรรยากาศห้องเรียนเชิงบวก

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย . [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิรินาถ จงกลกลาง (2561). วิทยาการการจัดการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุภัตรา ทรัพย์อุปการ. (4 กุมภาพันธ์ 2564). ความสำคัญของการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์.

https://www.scimath.org/article-mathematics/item/11638-2020-06-30-03-19-57

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อัมพร ม้าคะนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์ การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ

(พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bennett, Judith & Lubben, F. (2006). Context-based Chemistry: the Salters approach.

International Journal of Science Education, 28(9), 999-1015.

Cambridge International Examination. (2023). Cambridge IGCSE International Mathematics (0607). https://www.cambridgeinternational.org/programmes-and-qualifications/cambridge-igcse-international-mathematics-0607/

Darkwah, V. (2006). Undergraduate Nursing Students’ Levvel of Thinking and Self

efficacy in Patient Education in a Context-Based Learning Program

[Master’s thesis]. University of Alberta Canada.

Gillbert. (2006). On the nature of ‘context’ in chemical education. International Journal

of Science Education, 28(9), 957-976.

Greeno, J. (1998). The situativity of knowing, learning and research. American

Psychologist, 53(1), 6-14.

Overton, T. L. (2007). Context and problem-based learning. New Directions in the

Teaching of physical Science, 3, 7-12.

Queensland Studies Authority. (2004). Chemistry. Extended Trial Pilot Syllabus.

Roger, H. & Robin, A. (2012). A lesson based on the use of contexts: An example of

effective practice in secondary school mathematics. [Master’s thesis]. Victoria

University of Wellington.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-24

How to Cite

คชรินทร์ ว. ., & จงกลกลาง ส. . (2025). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ตะลุยไปในบริบทการคำนวณและการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal for Developing the Social and Community, 12(1), 401–422. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/286409