คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

ผู้แต่ง

  • ภณศรบงกช จันทบัวลา มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ชัชชญา พีระธรณิศร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ต้องจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีความรู้ในแนวคิดและทฤษฎีด้านภาวะผู้นำ ศาสตร์ ศิลป์ และเทคนิคที่สามารถปรับใช้ตามบริบท การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าความเชื่อมั่น ค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัย: พบว่า คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง รายด้าน อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านบุคลิกภาพ อยู่ในระดับปานกลาง 4 ด้าน คือ ด้านความสามารถในการบริหาร ด้านความเป็นผู้นำ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านมนุษยสัมพันธ์ และเมื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ครูที่มีเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกันโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผล: คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีการแก้ไขและพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีและครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การบริหารการศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ปัญญา บัวบาน. (2565). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูกลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชรินทร์ วงสาร และศันสนีย์ จะสุวรรณ. (2564). คุณลักษณะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของ ผู้บริหารสถานศึกษา. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและ นานาชาติครั้งที่ 14 "Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021" วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564.

ภัคปภา บัญญัติ. (2564). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร].มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศราวุฒิ ขันคำหมื่น. (2566) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สร้อยทิพย์ แก้วตา. (2565). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้น พื้นฐาน พ.ศ. 2565 – 2567 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เอกสารหมายเลข 10/2564 กลุ่มนโยบายและแผน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและ

เอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, (41), 38-50.

อภิญญา สิงหา. (2565). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการเป็นโรงเรียนคุณธรรม. Journal of Modern Learning Development, (71), 155-168.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row.

Hodgetts, R. M. (1999). Management Theory, Process and Practice. (Translated by C. Çetin and E. C. Mutlu). Istanbul: Beta Printing Distribution Inc.

Hoy, W. & Miskel, C. (2001). Educational Administration: Theory, Research and Practice (6thed.). New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). "Determining Sample Size for Research Activities". Educational and Psychological Measurement. Vol 30 No. 3. pp. 607-610.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.

Luthans, F. (1977). Organizational Behavior. (2nded). Tokyo : McGraw-Hill. Kagalusha.

Stogdill, Ralph M. 25. (1948). Personal Factors Associated with Leadership: A Survey of the Literature. Journal of Psychology, 25(1), 35-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-13

How to Cite

จันทบัวลา ภ., & พีระธรณิศร์ ช. . (2025). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง . Journal for Developing the Social and Community, 12(1), 301–320. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/285255