ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของประชาชน อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ชัชวีร์ ยอดยศ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
  • ชำนาญ ทองเย็น มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
  • รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
  • ไพรจิตรา วงค์ไชย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
  • ปราโมทย์ สิทธิจักร มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการผู้บริโภค, ส่วนประสมทางการตลาด, สลากกินแบ่งรัฐบาล

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สลากกินแบ่งรัฐบาลนั้นถือเป็นการพนันยอดนิยมอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีประมาณการของคนไทยที่เล่นสลากกินแบ่งรัฐบาลมากถึง 24,626,233 ล้านคน  ในปี พ.ศ.2567 พบว่าสถิติการเล่นสลากกินแบ่งรัฐบาลของคนไทยมีมากถึง 24 ล้านคน ประกอบกับประชาชน โดยส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานีมีอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีรายได้ที่ไม่แน่นอน จึงอาจส่งผลให้ประชาชนนิยมและสนใจ ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อคาดหวังลาภลอยจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของประชาชนอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลพฤติกรรรมกับส่วนประสมทางการตลาดมีปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของประชาชน อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

ระเบียบวิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) และทดสอบความแปรปรวนจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า One-way ANOVA

ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ ระหว่าง 41-50ปี มีสถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช./ปวส. มีอาชีพเกษตรกร/รับจ้าง และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท ส่วนใหญ่ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลทุกงวด ในรอบ 1 ปี โดยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลครั้งละ 1 ฉบับ ในกรณีที่ซื้อ มากกว่า 1 ฉบับ ส่วนใหญ่เลือกซื้อเลขท้าย 2 ตัว เหมือนกัน และซื้อสลากกินแบ่ง รัฐบาล แต่ละครั้งไม่เกิน 100 บาท ช่วงเวลาที่ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่แน่นอน โดยซื้อมาจากร้านค้าทั่วไป เพื่อน/คนรอบข้าง เป็นแหล่งที่มาของตัวเลขที่ซื้อ ซึ่งเหตุผลที่มีต่อการซื้อสลาก เนื่องมาจากชอบเสี่ยงโชคโอกาสที่ซื้อสลาก คือ ไม่แน่นอน และในกรณีที่ซื้อสลากที่มีเลขไม่ตรงกับความต้องการ ส่วนใหญ่เลือก ซื้อเลขกลับกัน มีการติดตามผลการออกสลากผ่านทางวิทยุ คิดว่าราคาสลากเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ไม่เคยถูกรางวัลสลากและ หลังจากไม่ลูกรางวัลจะซื้อใหม่ในงวดถัดไป

สรุปผล: ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาและรายได้ที่ต่างกันโดยรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางทะเบียนราษฎร(รายเดือน).สืบค้นจากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

ชื่นสุมล บุนนาค และวสันต์ เจนร่วมจิต (2561) พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มเจนเนอเรชั่น B, X และ Y ในเขตกรุงเทพมหานครคณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพมหานคร.

ไทยรัฐ. (17 มกราคม 2566). สลากกินแบ่งรัฐบาล สถิติและข้อบ่งชี้ถึงทัศนคติคนไทย. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2605246

ติณณ์พิชา วิโรจน์เตชสุนทร. (2566). พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของประชาชนไทย สาขาการเงินและการธนาคาร. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นับเงิน รตะว่องไว. (2563). พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินของพนักงานองค์การบริหารส่วนตาบลในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. สาขาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิศานาถ ใจสุข1 และ ศิริรัตน์ รัตนพิทักษ์ (2561) พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการในการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาศรีย่าน กรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไท.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล. (2566). รายงายประจำปี 2566 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล.สืบค้นจาก http://www.glo.or.th/download/annualReport/2560/report- 2560.pdf.

อมฤตดา ขวกเขียว (2564) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้า ธนาคารออม สินสาขาค่ายธนะรัชต์. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-01

How to Cite

ยอดยศ ช., ทองเย็น ช. ., พราหมณ์ศิริ ร. ., วงค์ไชย ไ. ., & สิทธิจักร ป. . (2025). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของประชาชน อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี . Journal for Developing the Social and Community, 12(1), 235–250. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/285242