ปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การพัฒนาตนเอง, ประสิทธิภาพการทำงานบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สิ่งที่สำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร คือ ประสิทธิภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เช่นเดียวกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ที่บุคลากรในแต่ละองค์กรต้องปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามที่ระบุพระราชพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งบุคลากรที่ทำงานอยู่ในองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2) ระดับประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 3) ปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากรในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ หาขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 169 คน จากการใช้สูตรทาโร ยามาเน่
สุ่มตัวอย่างด้วยการใช้การวิธีจับสลาก ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับโดยใช้วิธีวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ตามวิธีการของ Cronbach ได้ค่าเชื่อมั่นทั้งฉบับ .829 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัย: ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์มีความสัมพันธ์มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการวินิจฉัยตนเองมีค่าเท่ากับ .253 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านปัจจัยด้านการกำหนดเป้าหมาย มีค่าเท่ากับ .221 ปัจจัยด้านการประเมินผล มีค่าเท่ากับ .187 ปัจจัยด้านการแสวงหาเพื่อน มีค่าเท่ากับ .157 ปัจจัยด้านการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ .102 ปัจจัยด้านความอดทนและพยายามในลักษณแปรผกผันตรงข้าม มีค่าเท่ากับ -.028 และปัจจัยด้านการหาทรัพยากรที่เหมาะสม มีค่าเท่ากับ .003 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .725 (R = .725) ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้เท่ากับร้อยละ 52.50 มีค่า R2 = .525 และมีค่า F = 25.435 ซึ่งแสดงว่า ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผล: ระดับปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยการพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์มีความสัมพันธ์มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการวินิจฉัยตนเอง รองลงมาคือ ปัจจัยด้านปัจจัยด้านการกำหนดเป้าหมาย ปัจจัยด้านการประเมินผล ปัจจัยด้านการแสวงหาเพื่อน ปัจจัยด้านการเรียนรู้ ปัจจัยด้านความอดทนและพยายามในลักษณแปรผกผันตรงข้าม และปัจจัยด้านการหาทรัพยากรที่เหมาะสม
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). รายงานผลการศึกษา เรื่องการกล่าวหาการชี้มูลความผิดข้อทักท้วงและพฤติกรรมการกระทำความผิดขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่น. [ออนไลน์] http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2016/7/2176_5794.pdf
จินต์จุฑา จันทร์ประสิทธิ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรทางการศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ชวลิต สละ. (2556). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติธร หาญดำรง. (2254). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศของธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) พื้นที่ภาคที่ 1 เขต 1 จังหวัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจหมาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว. (2567). ข้อมูลหน่วยงาน. เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว. [ออนไลน์] https:// www.kaolieo.go.th/
ภัทรนันท สุรชาตรี (2565). การพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท มิตซุย พรีซีสชั่นไทย จำกัด. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ธนัญกรณ์ ทองเลิศ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรส านักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 92-102.
วีรนุช หอมทรัพย์. (2555). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุธินี ฤกษ์ขำ. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชัย จตุพรวาที. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดนครสวรรค์.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
อารยา ประทุมพงษ์. (2566). ปัจจัยสมรรถนะที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม.[วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อุทัย เลาหวิเชียร. (2559). ค่านิยมขององค์การบริหารงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
Megginson, D. and Pedler, M. (1992). Self-development: A facillitator’s guide. London: McGraw-Hill.
Peterson, E., and Plowman, G.E. (1953). Business Organization and Management. Homewood, IL.: Richard D. Irwin.
Taro, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ