การปรับพื้นฐานทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐาน: กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาดนตรีชั้นปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • สุธีระพงษ์ พินิจพล มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อัครวัตร เชื่อมกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0005-6802-3510
  • สุรศักดิ์ หาญธีระพิทักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สราวุฒิ สราวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สุวิทย์ คำมณี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ระพีพันธ์ ศิริสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ทักษะ, การอ่านโน้ตดนตรี, เรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักศึกษาโดยการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน และเปรียบเทียบการใช้ทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยมีรูปแบบการวิจัยแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีและดนตรีศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่มีพื้นฐานทักษะในการอ่านโน้ตสากล จำนวน 30 คน จัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน กลุ่มควบคุมศึกษาการอ่านโน้ตดนตรีสากลจากเอกสารและตำรา กลุ่มทดลองศึกษาการอ่านโน้ตพร้อมพัฒนาทักษะจากการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านโน้ตดนตรีสากลก่อนและหลังการทดลอง แอพพลิเคชั่นโน้ตทีชเชอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัย: 1.หลังเข้าร่วมปรับพื้นฐานทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการอ่านโน้ตดนตรี (x̄ =79.43, SD=4.97 ) สูงกว่าก่อนการทดลอง (x̄ =13.52, SD=7.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 26.33)  

  1. เปรียบเทียบการใช้ทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในการใช้ทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผล: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้การเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานสามารถช่วยพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลได้ดีกว่าการใช้การเรียนรู้จากเอกสารและตำราเพียงอย่างเดียว การใช้เกมในการศึกษาไม่เพียงแต่เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้ดนตรีสากล โดยผู้สอนต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับจุดมุ่งหมายของวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน

Author Biography

อัครวัตร เชื่อมกลาง, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

-

References

จันทร์ฉาย สุขสาร. (2564). ผลของเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาตามแนวคิดของ Robert Gagne’s ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เจษฎา สุขสนิท. (2566). การใช้แอปพลิเคชันเกมดนตรีเพื่อพัฒนาการจดจำตำแหน่งตัวโน้ตดนตรีบนบรรทัด 5 เส้น ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรีศึกษา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 14(3), 103–116.

ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ. (2567). การใช้สื่อเกมเพื่อการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีและโสตประสาทด้วยกระบวนการความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักศึกษาดนตรีในระดับอุดมศึกษา. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 6(1), 67-82.

พรชุลี ลังกา. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานท่มีีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชาการศึกษาปฐมวัย. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 16(1), 112-123.

สุวัทนา สงวนรัตน์, ชัยวัฒน์ วารี. (2566). เกมทางการศึกษา : ความสนุกสนานบนพื้นฐานทางวิชาการ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(12), 754-772.

Burbules N.C., Fan G., Repp P. (2020). Five trends of education and technology in a sustainable future. Geography and Sustainability, 1(2), pp. 93-97.

Chun Qian, & Mingke Jiang. (2024). Exploring the Effects of Digital Game-Based Learning on Music Education. tudies in ocial cience ∓ umanities, 3(5), 6–9. etrieved from https://www.paradigmpress.org/SSSH/article/view/1118

Hartt, M., Hosseini, H. (2019). Exploration: From the Players Point of View. The Power of Play in Higher Education, 1(1), 263-271. https://doi.org/10.1007/978-3-319-95780-7_34

Hartt, M., Hosseini, H. (2020). Game on: Exploring the effectiveness of game-based learning.Planning Practice & Research, 35(5), pp. 589-604, 10.1080/02697459.2020.1778859

Richards, Jordan E. Montana. (2023). Discovering the Pedagogy and Secrets of Gamification and Game-Based Learning Applied to the Music Theory Classroom [Doctoral Dissertations] . Liberty University. https://digitalcommons.liberty.edu/doctoral/4738

Yu-Chen Liang, Ya-Ming Shiue, Yong-Ming Huang & Chuan-Gang Liu. (2016). Development of a digital game-based learning system in music learning [Paper presentation]. International Conference on Advanced Materials for Science and Engineering (ICAMSE), Tainan, Taiwan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-17

How to Cite

พินิจพล ส. . ., เชื่อมกลาง อ., หาญธีระพิทักษ์ ส. . ., สราวุฒิ ส. . ., คำมณี ส. ., & ศิริสัมพันธ์ ร. . (2025). การปรับพื้นฐานทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐาน: กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาดนตรีชั้นปีที่ 1. Journal for Developing the Social and Community, 12(1), 43–56. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/284891